รู้หรือไม่! วินัยจากเจ้าของ ส่งผลต่ออาการสุนัขป่วยโรคหัวใจมากกว่าที่คิด

8 FEB 2024
share :

เมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ สิ่งที่ควรทำในการดูแลอาการของสุนัขป่วยโรคหัวใจ นอกจากการไปหาสัตวแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด วินัยของเจ้าของก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เจ้าของควรมีความเข้าใจและดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการดูแลน้องหมาเป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน แบ่งกว้างๆ เป็น 4 ด้านได้แก่

1. วินัยในการสังเกตอาการ

  • การสังเกตอาการโดยทั่วไป
    • สังเกตความอยากอาหาร เพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ไม่มากเกินจนเป็นภาระของหัวใจ และไม่น้อยลงเรื่อยๆ จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สังเกตปริมาณการกินน้ำและปัสสาวะว่าบ่อยแค่ไหน หากพบความผิดปกติอาจเกิดขึ้นจากการให้ยา อาการทรุดลงหรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคตับ โรคไต สังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น น้องหมาไอรุนแรง หายใจแรง เหนื่อยหอบผิดปกติ เป็นลม หรือไม่ ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อการวางแผนจัดการดูแลต่อไป
  • การสังเกตอัตราการหายใจ ด้วยการนับอัตราการหายใจในช่วงพักหรือหลับสนิท นับจำนวนครั้งการหายใจใน 1 นาที ซึ่งปกติแล้วควรมีจำนวนการหายใจไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที โดยเจ้าของสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน My Pet’s Heart2Heart เพื่อช่วยในการจับเวลาและบันทึกอัตราการหายใจได้ แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปให้สัตวแพทย์ประกอบการวินิจฉัยอาการของโรคต่อไป ดาวน์โหลดและอ่านขั้นตอนการใช้งานแอปพลิเคชัน

2. วินัยในการให้ยา

  • เจ้าของควรสอบถามกับสัตวแพทย์ ทำความเข้าใจถึงจุดประสงค์และผลข้างเคียงของการให้ยาโรคหัวใจสุนัข เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงต่างๆ ทั้งนี้อาจมีการปรับยาเนื่องจากโรคหัวใจมีการดำเนินไปของโรคอยู่ตลอด และอาจมีอาการแทรกซ้อนเพิ่มเติม ควรให้ยาสัตวแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด
  • การให้ยาโรคหัวใจสุนัขในขนาดที่เหมาะสมและตรงตามเวลา มีวินัยสม่ำเสมอ เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการดูแลอาการของสุนัขป่วยโรคหัวใจ เพราะหากขาดยาอาจทำให้อาการของโรคหัวใจดำเนินไปในทางที่แย่ลงได้
  • หากที่บ้านมีหลายคน ควรเขียนกำกับการให้ยาและบันทึกไว้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการให้ยาซ้ำซ้อนหรือลืมให้ยา

3. วินัยในการให้และจำกัดอาหารสำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจ

  • การควบคุมปริมาณเกลือให้มีสัดส่วนที่น้อยลง เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เนื่องจากจะส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจากความดันเลือดที่สูงขึ้น และมีโอกาสที่จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกายได้ อ่านเพิ่มเติม การดูแลอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคหัวใจ
  • ไม่ควรให้อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง สามารถให้อาหารสำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจโดยตรง หรืออาหารปรุงเองที่มีปริมาณเกลือต่ำได้

4. วินัยในการพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปออกกำลังกาย

สุนัขป่วยโรคหัวใจ มักลดการทำกิจกรรมบางอย่างลง ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องงด ยังควรให้ออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไปอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดินเล่นเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในที่ร่มลมโกรก เพื่อปรับการทำงานของหัวใจ อ่านเพิ่มเติม การออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามควรให้น้องหมาพักเมื่อแสดงอาการเหนื่อย และหากพบว่าออกกำลังกายแล้วเป็นลมหรืออ่อนแรงฉับพลัน ควรพาไปพบสัตวแพทย์ทันที ทั้งนี้สำหรับสุนัขที่อยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง ให้งดการออกกำลังทุกชนิด

จะเห็นได้ว่าการดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้านนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายๆ คนคิด แต่จำเป็นต้องมีวินัยและหมั่นสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลง เพื่อดูแลอาการโรคหัวใจให้สงบ ไม่ทรุดลงเร็วเกินไปจากปัจจัยต่างๆ ที่สามารถควบคุมได้ ก็จะช่วยให้น้องหมาอยู่กับเราได้นานขึ้น

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

12 OCT 2023
5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยแล้ว โดยเฉพาะโรคหัวใจที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัข ก่อนที่สัตว์เลี้ยงของเราจะจากไป เราก็อยากมีเวลา ให้อยู่ด้วยกันได้นาน ๆ แต่การกระทำบางอย่างของเจ้าของ อาจทำให้สุนัขของเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอย่างที่คิด มาดู 5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ กัน
29 JUL 2021
โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว
หน้าฝนแบบนี้ป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจให้น้องแมวกันรึยังคะ?
18 APR 2024
โรคหัวใจในสุนัขและภาวะแทรกซ้อน
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อหัวใจทำงานเสื่อมลงหรือมีความผิดปกติก็สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญอื่นๆ ได้ด้วย สุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจนั้น จะแบ่งกลุ่มหลักๆ ได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่แสดงอาการและกลุ่มที่แสดงอาการ ในกลุ่มที่อยู่ในระยะแสดงอาการแล้ว
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่