สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น

21 JUN 2022
share :

โรคหัวใจในสุนัข ถือเป็นหนึ่งในโรคที่สร้างความเจ็บป่วยให้กับสุนัขที่พบได้ง่าย โรคหัวใจในสุนัขอาจเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม โรคประจำสายพันธุ์ของน้องหมา และเมื่อน้องหมามีอายุมากขึ้น ถ้าโรคหัวใจในสุนัขสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและพบได้ง่ายขนาดนี้ แล้วสุนัขของเราจะเป็นสุนัขป่วยโรคหัวใจไหมนะ?

การตรวจหาโรคหัวใจในสุนัขหรือเช็กว่าสุนัขป่วยโรคหัวใจหรือไม่นั้นสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่แม่นยำที่สุดคือการที่เจ้าของพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ที่ศูนย์โรคหัวใจสุนัขหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน แต่หากเจ้าของท่านใดยังไม่สะดวกที่จะพาน้องไปพบสัตวแพทย์ ก็มีวิธีที่เจ้าของสามารถสังเกตน้องหมาของเราเบื้องต้นได้

วิธีที่เจ้าของจะสามารถเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ ว่าสุนัขของเราป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น ทำได้โดยการใช้ “สูตรนับการหายใจ” การนับการหายใจของสุนัข หลัก ๆ แล้วมี 2 แบบ คือ การนับอัตราการหายใจขณะสงบ แต่ยังตื่นรู้ (Resting Respiratory Rate; RRR) และการนับอัตราการหายใจขณะหลับสนิท (Sleeping Respiratory Rate; SRR) โดยวิธีการนับอัตราการหายใจที่นิยมและแม่นยำกว่า มักใช้การนับอัตราการหายใจขณะหลับสนิท หรือ SRR

อัตราการหายใจขณะหลับสนิท หรือ SRR สามารถทำได้โดยการสังเกตการหายใจเข้า-หายใจออกของสุนัขในขณะที่สุนัขหลับสนิท โดยเมื่อสุนัขหายใจเข้าและหายใจออก จึงนับเป็น 1 ครั้ง และระยะเวลาในการนับจะมี 3 แบบ คือ 15 วินาที 30 วินาที และ 60 วินาที ในการนับอัตราการหายใจของสุนัข ควรนับในขณะที่สุนัขอยู่ในท่านอนตะแคงหรือนอนคว่ำ ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ หากก่อนหน้านี้สุนัขมีการออกกำลังกายหรือเล่นมา ก็ควรได้รับการพักผ่อนไปแล้วมากกว่า 30 นาที หรือได้นอนหลับไปแล้วมากกว่า 15 นาที

โดยปกติแล้ว ค่า SRR ของสุนัขสุขภาพดีจะมีค่า SRR อยู่ที่ 14-25 ครั้งต่อนาที หรือน้อยกว่า 30 ครั้งต่อนาที แต่หากสุนัขของคุณมีค่าอัตราการหายใจขณะหลับ หรือ SRR มากกว่า 30 ครั้งต่อนาที ก็อาจบ่งบอกได้ว่าสุนัขของคุณอาจมีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัข ซึ่งการนับอัตราการหายใจนี้ควรนับเป็นประจำทุกวัน ในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ และจดบันทึกเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงอัตราการหายใจของสุนัขอย่างเป็นประจำ

การนับอัตราการหายใจของสุนัข ถือเป็นวิธีการสังเกตโรคหัวใจในสุนัขที่ต้องอาศัยความสม่ำเสมอและความใส่ใจของเจ้าของอย่างมาก เนื่องจากต้องใช้เวลาในการนับ นับอย่างใจเย็นและแม่นยำ และต้องจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเจ้าของบางท่านอาจมองว่าเป็นวิธีที่ยุ่งยาก แต่ในปัจจุบันได้มีตัวช่วยในการนับอัตราการหายใจของสุนัขที่จะช่วยให้เจ้าของสามารถสังเกตโรคหัวใจในสุนัขได้อย่างสะดวกมากขึ้น

แนะนำ Heart2Heart แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้เจ้าของสามารถนับอัตราการหายใจของสุนัข บันทึกจัดเก็บประวัติอัตราการหายใจของสุนัขในแต่ละวัน สามารถเรียกดูผลย้อนหลังได้ และสามารถแสดงค่าความผิดปกติของสุนัขที่อาจเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขได้ วิธีใช้ง่าย ๆ เพียง 3 ขั้นตอน

1. ใส่ข้อมูลสุนัขของคุณ สัตวแพทย์ประจำตัว และโรงพยาบาลใกล้บ้าน

2. กำหนดระยะเวลา ที่จะใช้ในการนับการหายใจในช่วง 15 วินาที 30 วินาที หรือ 60 วินาที

3. เลือกโปรไฟล์สุนัขของคุณ แล้วแตะไอคอน “หัวใจ” โดยเมื่อสุนัขหายใจเข้าและออก ให้แตะที่ไอคอนหัวใจ 1 ครั้ง

สะดวกทั้งในการนับ สะดวกทั้งในการเก็บและเรียกดูข้อมูล และในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน เจ้าของก็สามารถค้นหาโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน พร้อมหาเบอร์ติดต่อกับคุณหมอหรือโรงพยาบาลได้ภายในแอปฯ ทันที Heart2Heart แอปเดียวที่จะช่วยดูแลสุนัขจากโรคหัวใจ สามารถดาวน์โหลดแล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store มาช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของเขา ให้อยู่รักเราไปได้อีกนาน

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

14 JUN 2021
เสียงหัวใจบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด
หัวใจถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากหัวใจหยุดทำงาน ก็จะไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทำให้สัตว์เสียชีวิตได้
13 DEC 2022
เราต้องหมั่นพาน้องไปตรวจเช็คหัวใจบ่อยแค่ไหน?
โรคหัวใจในสุนัข เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด หรือจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจที่เกิดเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดที่หัวใจ ถุงหุ้มหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนควรเอาใจใส่ดูแล
8 FEB 2024
รู้หรือไม่! วินัยจากเจ้าของ ส่งผลต่ออาการสุนัขป่วยโรคหัวใจมากกว่าที่คิด
เมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ สิ่งที่ควรทำในการดูแลอาการของสุนัขป่วยโรคหัวใจ นอกจากการไปหาสัตวแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด วินัยของเจ้าของก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เจ้าของควรมีความเข้าใจและดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการดูแลน้องหมาเป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน แบ่งกว้างๆ เป็น 4 ด้านได้แก่
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่