การใช้ยาในการรักษาโรคหัวใจ

2 SEP 2021
share :

การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบันโดยมากจะเป็นการรักษาทางยา เพื่อชะลอไม่ให้สัตว์ป่วยเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจแล้ว สัตว์ป่วยจําเป็นจะต้องได้รับยาไปตลอดชีวิต ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจในสุนัขและแมวมีมากมาย ได้แก่ กลุ่มยาขับน้ำ กลุ่มยาช่วยควบคุมระบบประสาทและฮอร์โมน กลุ่มยาช่วยเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ กลุ่มยาขยายหลอดเลือด และกลุ่มยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด เชื่อว่าเจ้าของทุกคนที่มีน้องแมวหรือน้องหมาป่วยเป็นโรคหัวใจต้องเคยได้ยินคุณหมอพูดเสมอว่า “ทานยาให้ตรงตามเวลาที่กำหนดนะคะ” “อย่าให้สัตว์ป่วยโรคหัวใจขาดยานะคะ” และ “ต้องมาพบหมอเป็นประจำและสม่ำเสมอนะคะ” วันนี้จะมาไขข้อข้องใจ ว่าทำไมคุณหมอต้องคอยย้ำเจ้าของแบบนี้เสมอ ๆ

ทำไมสัตว์ป่วยโรคหัวใจต้องทานยาให้ตรงตามเวลาที่สัตวแพทย์กำหนด?

ยาแต่ละชนิดจะมีวิธีการทานยาที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปการทานยาขณะที่ยังท้องว่าง จะทำให้ยาถูกดูดซึมได้ดีที่สุด แต่ยาบางประเภทมีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนถ้ารับประทานตอนท้องว่าง จึงควรทานพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที ส่วนยาหลังอาหาร แนะนำให้รับประทานหลังอาหาร 15-30 นาที ในกรณีที่ลืมรับประทานยามื้อใดมื้อหนึ่ง ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้ถึงเวลาที่ต้องทานมื้อต่อไปแล้ว ให้ข้ามมื้อที่ลืมไป อย่าป้อนยาโดยการรวมมื้อยามาป้อนรวมกันเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้ เกิดผลข้างเคียงจากการได้รับยามากเกินได้

ทำไมสัตว์ป่วยโรคหัวใจถึงขาดยาไม่ได้?

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ใช้เพื่อควบคุมอาการ ซึ่งหากสัตว์ป่วยขาดยาจะทำให้สัตว์ป่วยแสดงอาการจากภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้น และถ้าเจ้าของพาสัตว์ป่วยมาพบสัตวแพทย์ไม่ทันเวลา สัตว์ป่วยก็มีโอกาสเสียชีวิตได้

ทำไมสัตว์ป่วยโรคหัวใจต้องไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำและสม่ำเสมอ?

เนื่องจากการให้ยารักษาโรคหัวใจไม่มีสูตรจำเพาะและตายตัว การจ่ายยาขึ้นอยู่กับผลการตรวจประเมินสภาพร่างกาย อาการที่สัตว์ป่วยแสดง และการทํางานของหัวใจในเวลานั้นๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนไปสัตว์ป่วยมีอาการดีขึ้น ตอบสนองต่อยาที่รักษา สัตวแพทย์ก็จะทำการปรับลดขนาดยาบางชนิดลง แต่หากสัตว์ป่วยมีการดำเนินไปของโรคจนเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว สัตวแพทย์ก็จะต้องทำการปรับขนาด และชนิดยาตามอาการที่สัตว์ป่วยแสดง รวมทั้งเฝ้าระวังการทํางานของอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต และตับ

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือยาที่ให้สัตว์ป่วยทาน ต้องเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการซื้อยาทางออนไลน์ เนื่องจากอาจเกิดความเสี่ยงที่จะได้รับยาเถื่อน ยาปลอม ยาไม่ผ่านมาตรฐาน หรือยาที่ไม่ได้รับการควบคุมที่ดีพอ เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดการได้อย่างทั่วถึง

การให้ยาที่ถูกต้อง และไปพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอ คือหัวใจของการรักษาโรคหัวใจ ซึ่งจะช่วยให้สัตว์ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป ปรึกษาสัตวแพทย์เรื่องการให้ยาเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้าน

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

29 JUL 2021
โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว
หน้าฝนแบบนี้ป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจให้น้องแมวกันรึยังคะ?
30 SEP 2024
ระวัง! สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากน้องหมาไม่กินยาโรคหัวใจให้ถูกวิธี
โรคหัวใจในสุนัขเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย และการรักษาด้วยยาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยควบคุมอาการและช่วยให้น้องหมามีอายุขัยที่ยืนยาวมากขึ้น และสิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการให้น้องหมากินยาอย่างสม่ำเสมอ ก็คือการให้ยาน้องหมาอย่างถูกวิธี เพราะหากน้องหมาไม่ได้รับยาที่ถูกวิธีตามคำแนะนำของสัตวแพทย์แล้วก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและชีวิตของน้องหมาได้
12 OCT 2023
5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยแล้ว โดยเฉพาะโรคหัวใจที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัข ก่อนที่สัตว์เลี้ยงของเราจะจากไป เราก็อยากมีเวลา ให้อยู่ด้วยกันได้นาน ๆ แต่การกระทำบางอย่างของเจ้าของ อาจทำให้สุนัขของเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอย่างที่คิด มาดู 5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ กัน
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่