หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อหัวใจทำงานเสื่อมลงหรือมีความผิดปกติก็สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญอื่นๆ ได้ด้วย สุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจนั้น จะแบ่งกลุ่มหลักๆ ได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่แสดงอาการและกลุ่มที่แสดงอาการ ในกลุ่มที่อยู่ในระยะแสดงอาการแล้ว เช่น หัวใจโต หอบ เหนื่อยง่าย เป็นลม มีน้ำในช่องท้อง ช่องอก และน้ำในถุงหุ้มหัวใจ จำเป็นต้องรับยาหัวใจซึ่งจะช่วยประคองการทำงานหรือชะลอความรุนแรงของโรคที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการดูแลอวัยวะอื่นๆ ที่จะได้รับผลจากการที่หัวใจทำงานได้บกพร่อง เช่น ไต ตับ ปอด และหลอดเลือด เป็นต้น
ในสุนัขที่เป็นโรคหัวใจนั้นควรมีการดูแลสุขภาพตามมาตราฐานทั่วไป อ่านเพิ่มเติม เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ-เริ่มต้นดูแลอย่างไรดี และควรเน้นในการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจอีกด้วย พยาธิหนอนหัวใจสามารถติดต่อในสุนัขได้โดยผ่านทางการโดนยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิกัด ดังนั้นสุนัขควรได้รับการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจตามคำแนะนำของสัตวแพทย์อย่างเคร่งครัด
หัวใจมีหน้าที่ส่งเลือดและนำออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อให้อวัยวะของร่างกายนั้นทำงานได้ตามปกติ หัวใจของสุนัขแบ่งเป็น 4 ห้อง เช่นเดียวกับของคน แบ่งออกเป็นฝั่งขวาและซ้าย แต่ละฝั่งก็จะแบ่งเป็นห้องบน 1 ห้อง และห้องล่าง 1 ห้อง หัวใจฝั่งขวาบนรับเลือดที่ใช้แล้วจากร่างกาย ส่งเข้าหัวใจห้องขวาล่าง แล้วสูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอดโดยไปทางหลอดเลือดที่ชื่อว่า pulmonic artery เลือดที่มีออกซิเจนสูงก็จะออกจากปอดผ่านหลอดเลือดที่ชื่อว่า pulmonary vein กลับไปยังหัวใจฝั่งซ้ายบน ส่งเข้าสู่หัวใจฝั่งซ้ายล่างและก็จะถูกสูบฉีดผ่านหลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ในกรณีที่หัวใจเสียหน้าที่ เช่น มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrythmias) หรือการเสียหน้าที่ของหัวใจในช่วงหัวใจบีบตัว (systolic dysfunction) ส่งผลต่อการส่งเลือดไปฟอกที่ปอด และการส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
เมื่อสุนัขเป็นโรคหัวใจไม่ได้ต้องดูแลแค่หัวใจ แต่ยังมีผลกระทบไปยังระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ระบบหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท และการทำงานของตับและไต เป็นต้น โรคหัวใจสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยๆ ดังนี้
ในสุนัขที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ (heart disease) ในกลุ่มที่ยังไม่แสดงอาการนั้น สัตวแพทย์จะนัดตรวจหัวใจ ทุก 6-12 เดือนตามอาการ และในกลุ่มที่แสดงอาการหัวใจล้มเหลวแล้ว ได้แก่ ภาวะน้ำท่วมปอด (pulmonary edema) หายใจลำบาก เป็นลม มีน้ำในช่องท้อง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น สัตวแพทย์จะนัดตรวจอาการถี่มากขึ้นเพื่อทำการปรับยาหัวใจตามอาการ ภาวะหัวใจล้มเหลวจะเกิดขึ้นเมื่อโรคหัวใจดำเนินมาระยะเวลาหนึ่งแล้วหัวใจไม่สามารถทำงานได้ปกติอีกต่อไป มีผลให้มีการคั่งของน้ำในร่างกายตามที่ต่างๆ อาการน้ำท่วมปอดเป็นอาการของหัวใจฝั่งซ้ายล้มเหลว นับว่าเป็นอาการที่พบบ่อยมากๆ ในทางคลินิก และหากไม่ได้รับการแก้ไขด้วยการให้ยาขับน้ำได้ทัน ก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน นำไปสู่การเสียชีวิต อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวในสุนัข
เจ้าของสัตว์ควรสังเกตอาการทางเดินหายใจและระบบไหลเวียดเลือดอย่างใกล้ชิด เช่น การนับอัตราการหายใจใน 1 นาทีในขณะพักหรือหลับ หากพบว่าเกิน 30 ครั้งต่อนาทีหรือเกินกว่าอัตราปกติของสัตว์เลี้ยงตัวนั้นๆ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ทันที การตรวจสีเหงือกและลิ้นนั้นสามารถทำได้ง่ายด้วยตัวเองที่บ้าน หากพบว่าสีซีดขาวหรืออมม่วง แสดงว่าการไหลเวียนของเลือดผิดปกติรุนแรงหรือระดับออกซิเจนในร่างกายไม่เพียงพอ ก็ควรพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการวัดความดัน เอกซเรย์ช่องอก เพื่อประเมินภาวะน้ำท่วมปอด
ภาวะนี้คือ หลอดเลือดแดงปอด (pulmonary artery) มีความต้านทานเพิ่มขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนตามทิศทางปกติยากขึ้น ส่งผลให้หัวใจด้านขวาต้องทำงานหนักมากขึ้น การแลกเปลี่ยนก๊าซดีและก๊าซเสียทำได้ต่ำกว่าปกติ สาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้มีหลายรูปแบบและเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น
อาการที่พบ ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว ไอ เป็นลม เหงือกซีดหรือม่วง มีน้ำในช่องท้อง หลอดเลือดดำที่คอขยายใหญ่ เป็นต้น หากสุนัขมีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย ได้แก่ การอัลตราซาวน์หัวใจเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะเกิดแรงดันหลอดเลือดในปอดสูง การเอกซเรย์ช่องอกเพื่อดูการโป่งพองของหลอดเลือดและการขยายใหญ่ของหัวใจฝั่งขวา การตรวจหาพยาธิหนอนหัวใจ
ทั้งนี้สุนัขควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคทางระบบอื่นเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากมีโรคอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดและทำให้เกิดภาวะแรงดันหลอดเลือดในปอดสูงได้ เช่น โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน โรคระบบฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ ภาวะพร่องโปรตีนของร่างกาย ภาวะติดเชื้อ ภาวะกระบวนการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นต้น สำหรับการรักษานั้นจะต่างกันไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามภาวะความดันเลือดในปอดสูงมีอันตรายอย่างมาก สามารถทำให้เสียชีวิตฉับพลันได้ถึงแม้จะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาแล้วก็ตาม
เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ ภาวะช็อคจากโรคหัวใจทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจน้อยลง และภาวะความดันเลือดต่ำทำให้ปริมาตรเลือดที่เข้าไปเลี้ยงไตน้อยลง เกิดการคั่งของของเสียในร่างกาย ทำให้ไตวายแบบเฉียบพลัน (acute kidney injury) ภาวะความดันเลือดสูงเหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของกระจุกหลอดเลือดฝอยในไต นอกจากนี้โรคพยาธิหนอนหัวใจที่ซับซ้อนยังทำให้เกิดการอักเสบของกระจุกหลอดเลือดฝอย (glomerulonephritis) และไตวายเฉียบพลันได้ หรือเกิดไตบวมระหว่างที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ในขณะที่เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวจะมีอาการต่างๆ ดังนี้ เช่น น้ำท่วมปอด มีน้ำในช่องท้อง เป็นต้น จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์เพื่อลดการคั่งของน้ำในร่างกาย จึงต้องใช้ยาขับปัสสาวะ หรือยาที่ช่วยเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ในขณะเดียวกันต้องมีการตรวจประเมินสภาวะพร่องน้ำร่างกายเกินกว่าปกติ ประสิทธิภาพการทำงานของไต และตรวจปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายเป็นระยะ ระหว่างทำการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ในสุนัขสูงวัยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลวยิ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะพบโรคไตได้มากขึ้น และในสุนัขที่เป็นโรคหัวใจระยะท้ายต้องมีการใช้ยาควบคุมหลายตัวมากขึ้น เช่น ยาขับน้ำที่ขนาดยาสูงๆ หรือยากลุ่มขยายหลอดเลือด ก็มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงไตวายเฉียบพลันได้มากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวควรได้รับการตรวจประเมินและติดตามการทำงานของไตเป็นระยะ ได้แก่ การวัดความดันร่างกาย การตรวจปัสสาวะ การตรวจ creatinine, symmetric dimethylarginine (SDMA), albumin และ อิเล็กโตรไลท์ในเลือด เป็นต้น
ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch
และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่
สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”