การดูแลและรักษาสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (part 1)

17 SEP 2021
share :

การดูแลรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องคำนึงถึงหลักสำคัญในหลายปัจจัยพิจารณาร่วมด้วย คือ

  1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวแล้วแก้ไขสาเหตุนั้น (ถ้าทำได้) เช่น หากเกิดจากความบกพร่องทางกายวิภาค ซึ่งมักพบเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital heart disease) โดยสามารถพบความผิดปกติดังกล่าวได้ ประมาณ 5 % ของโรคหัวใจในสุนัขและแมว ตัวอย่างโรคหัวใจแต่กำเนิดได้แก่ patent ductus arteriosus (PDA), atrial septal defect (ASD), ventricular septal defect (VSD), pulmonic stenosis, aortic stenosis, tricuspid valve dysplasia, tetralogy of Fallot (TOF) เป็นต้น โดยบางโรคสามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัด หรือสามารถบรรเทาความรุนแรงลงได้ จากการทำหัตถการสายสวน
  2. สำหรับภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากโรคหัวใจที่เป็นภายหลังกำเนิด (Acquire heart disease) สามารถพบได้ประมาณ 95 % ได้แก่ DMVD และ DCM ในสุนัข และ hypertrophic cardiomyopathy (HCM) และ restrictive cardiomyopathy (RCM) ในแมว การรักษาแบบประคับประคองเพื่อยืดอายุขัยและช่วยให้สุนัขและแมวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยการรักษาทางยาเป็นวิธีการที่นิยมใช้มากที่สุด ในการรักษาสัตว์เลี้ยงที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคที่เป็นภายหลังกำเนิด
  3. ระยะของโรคและความรุนแรงของโรค
  4. โรคอื่น ๆ ที่พบร่วม เช่น โรคไต โรคทางเดินหายใจ โรคทางต่อมไร้ท่อ ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาการใช้ยา
  5. ค้นหาปัจจัยที่อาจทำให้อาการกำเริบ เช่น การดำเนินไปของโรค ขาดความสม่ำเสมอในการป้อนยา อาหารที่มีปริมาณเกลือสูง การถูกรบกวนไม่ได้พักผ่อน ภาวะเครียด การออกกำลังกายหนักเกินไป ควรทำการปรับและแก้ไขร่วมด้วย

ในบางครั้งสุนัขอาจมาด้วยการแสดงอาการฉับพลันและรุนแรง จึงจำเป็นต้องทำการรักษา เพื่อบรรเทาอาการ เช่น ในกรณีที่มีภาวะน้ำในถุงหุ้มหัวใจหรือน้ำในช่องอกนั้นจำเป็นต้องทำหัตถการเจาะระบายน้ำออกร่วมกับการให้ออกซิเจน หรือในสุนัขบางตัวที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคหัวใจแต่กำเนิดบางชนิด เช่น patent ductus arteriosus จำเป็นต้องทำการรักษาทางยาเพื่อพยุงอาการก่อนทำการรักษาแก้ไขด้วยการผ่าตัด

เป้าหมายของการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

  1. การลดภาวะการคั่งของเหลว - ยาขับน้ำ, ยาขยายหลอดเลือด

  2. การเพิ่มปริมาตรเลือดออกจากหัวใจ - ยากระตุ้นการบีบตัวของหัวใจ, ยาขยายหลอดเลือด
  3. การปรับจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจ - ยาต้านการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ
  4. การปรับสมดุลของระบบประสาทและฮอร์โมน - ยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEi), Aldosterone receptor agonist, Beta-blockers

หลักการจัดการที่สำคัญ คือ

  1. ควรทำการวินิจฉัยในเวลารวดเร็วด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดความเครียดต่ำ
    • การวินิจฉัยด้วยภาพเอกซเรย์ช่องอก มักพบขนาดหัวใจโต, หัวใจห้องบนซ้ายขยายใหญ่, การขยายใหญ่ของหลอดเลือดพัลโมนารีเวน พบลักษณะปอดแบบ Interstitial หรือ alveolar pattern โดยเฉพาะที่บริเวณปอดด้านท้าย
    • การอัลตร้าซาวด์ช่องอก สามารถทำได้โดย

      1. เทคนิค Thoracic focused assessment with sonography for trauma (TFAST): TFAST and Vet BLUE โดยในกรณีที่มีภาวะปอดบวมน้ำ จะพบลักษณะ Ultrasound lung rockets sign, (ULRS) ส่วนในกรณีปอด จะพบลักษณะ A-line with glide sign

      2. การอัลตร้าซาวด์หัวใจด้วยเทคนิค Focused echocardiography ในท่า Right parasternal long and short axis view เพื่อประเมิน LA/Ao ratio, % Fractional shortening, การตรวจพบน้ำในถุงหุ้มหัวใจ การขาดของ chordae tendineae และการฉีกขาดของหัวใจห้องบนซ้าย

    • การตรวจด้วยตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ เช่น

      1. Amine terminal pro B-type natriuretic peptide (NT-pro BNP): ตัวบ่งชี้การทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหัวใจเมื่อเกิด myocardial stress (High > 1900 pmol/l)

      2. Cardiac troponin I (nTnI): บ่งชี้ความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจเมื่อเกิด myocardial injury

    • การวินิจฉัยเพิ่มเติม

      1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจมาจากสาเหตุอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ เช่น ภาวะเสียสมดุลกรด-ด่าง หรืออิเลกโตรไลท์ การบาดเจ็บ ช็อค ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยและทำการแก้ไข

      2. การวัดความดันเลือด

      3. การตรวจเลือด CBC (PCV), BUN, Creatinine, Blood glucose, Lactate,

      4. การตรวจปัสสาวะ

  2. เป้าหมายการเฝ้าติดตามสัญญาณชีพ

ต้องพบลักษณะเหยื่อเมือกเป็นสีชมพู, CRT < 2 sec. อุณหภูมิร่างกายปกติ ความดันเลือดมากกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ระดับออกซิเจนในเลือด (SpO2) มากกว่า 96 % อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจอยู่ในช่วงปกติ อัตราการหายใจน้อยกว่า 30 นาที ปริมาณแลคเตทในเลือดน้อยกว่า 2.5 มิลลิโมล/ลิตร อัตราการสร้างปัสสาวะ 1 มล./กก/ชม. ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (PCV) มากกว่า 24 % ปริมาณอัลบูมินในเลือดมากกว่า 2 กรัม/เดซิลิตร

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

บทความนี้เขียนโดย สพ.ญ. ชัญภร กวางรัตน์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

18 APR 2024
โรคหัวใจในสุนัขและภาวะแทรกซ้อน
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อหัวใจทำงานเสื่อมลงหรือมีความผิดปกติก็สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญอื่นๆ ได้ด้วย สุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจนั้น จะแบ่งกลุ่มหลักๆ ได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่แสดงอาการและกลุ่มที่แสดงอาการ ในกลุ่มที่อยู่ในระยะแสดงอาการแล้ว
2 NOV 2022
“สุนัขและแมวป่วยโรคหัวใจ” ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมแบบไหนที่เหมาะสม
สุนัขและแมวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะในระยะที่รุนแรงจนเกิดหัวใจล้มเหลว มีน้ำท่วมปอดหรือท้องมานแล้ว การพาสัตว์เลี้ยงออกกำลังกายอย่างหนักบางประเภท เช่น วิ่งไล่สิ่งของ หรือว่ายน้ำ จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจของสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจของสุนัขและแมวทำงานหนัก
17 MAR 2022
10 อาการเตือนที่บ่งบอกว่าสุนัขของคุณอาจป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัข
โรคหัวใจในสุนัขสามารถพบได้เช่นเดียวกันกับในคน สามารถพบได้ตั้งแต่เกิด (Congenital heart disease) แต่มีโอกาสเกิดได้น้อย หรือพบตามมาภายหลังเกิด (Acquired heart disease) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรคหัวใจมีการพัฒนาเกิดขึ้นในช่วงกลางชีวิต โดยเฉพาะในสัตว์อายุมาก
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่