วิธีวัดอัตราการหายใจ สามารถช่วยติดตามอาการโรคหัวใจในน้องหมาได้

2 DEC 2024
share :

ทำไมการวัดอัตราการหายใจถึงสำคัญ?

เพราะอัตราการหายใจของสุนัขเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพของหัวใจ การเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจอาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคหัวใจในสุนัข การติดตามบันทึกอัตราการหายใจอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นวิธีหนึ่งที่เจ้าของสุนัขสามารถช่วยเฝ้าระวังสุขภาพของน้องหมาได้

วิธีการวัดอัตราการหายใจขณะพักของสุนัข

การวัดอัตราการหายใจขณะพักของสุนัขนั้นทำได้ง่ายๆ โดยสามารถทำเองได้ที่บ้าน

1. เตรียมความพร้อม: หาสถานที่ที่เงียบสงบและสบายสำหรับสุนัข อาจจะเป็นที่นอนหรือมุมโปรด

2. เริ่มนับ: เมื่อสุนัขอยู่ในสภาวะผ่อนคลายแล้ว ให้เริ่มนับจำนวนครั้งที่สุนัขหายใจเข้าและหายใจออก นับเป็น 1 ครั้ง โดยบันทึกในช่วงเวลา 1 นาที

3. บันทึกผล: จดบันทึกค่าที่ได้ลงในสมุดบันทึก เพื่อเปรียบเทียบกับค่าในครั้งต่อไป

หรือใช้แอปพลิเคชัน My Pet’s Heart2Heart ซึ่งจะมีฟีเจอร์ที่ช่วยบันทึกอัตราการหายใจ

  • บันทึกจัดเก็บประวัติ พร้อมการแจ้งเตือน
  • เรียกดูผลย้อนหลังได้ทุกเมื่อ แสดงผลเป็นข้อมูลให้กับสัตวแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยได้สะดวกมากขึ้น
  • แสดงค่าความผิดปกติ เมื่อสุนัขของคุณมีอัตราการหายใจผิดไปจากปกติ

ค่าปกติของอัตราการหายใจในสุนัข

อัตราการหายใจในสุนัขนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ขนาด อายุ และระดับกิจกรรมของสุนัข แต่โดยทั่วไปแล้วอัตราการหายใจขณะพักของสัตว์เลี้ยงที่สุขภาพดี ควรมีอัตราการหายใจไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการหายใจ

  • อุณหภูมิ: อากาศที่ร้อนอาจทำให้อัตราการหายใจของสุนัขเพิ่มขึ้น
  • ระดับกิจกรรม: หลังจากออกกำลังกายหรือเล่น อัตราการหายใจของสุนัขจะเพิ่มขึ้นชั่วคราว
  • ความเครียด: สุนัขที่รู้สึกเครียดหรือตื่นเต้นก็จะมีอัตราการหายใจที่เร็วขึ้น
  • โรคภัยไข้เจ็บ: โรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไข้หัด ปอดบวม ลำไส้อักเสบ โรคพยาธิเม็ดเลือด ก็สามารถส่งผลให้อัตราการหายใจของสุนัขผิดปกติได้

เมื่อใดควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์

หากสังเกตเห็นว่าอัตราการหายใจของสุนัขขณะพักมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก คือมากกว่า 30 ครั้งต่อนาที หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจลำบาก มีเสียงหายใจผิดปกติ ซึม เบื่ออาหาร หรือไอต่อเนื่อง ควรพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

การวัดอัตราการหายใจเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ วิธีที่สามารถใช้ในการประเมินสุขภาพของสุนัข การสังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย และการพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำ ก็จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าสุนัขมีสุขภาพที่ดี หรือหากมีอาการเจ็บป่วยก็จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในโรคหัวใจที่หากตรวจพบได้ไว ก็จะช่วยให้รักษาได้เร็ว และดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ช่วยให้น้องหมาสามารถอยู่กับเรานาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

29 JUL 2021
โรคพยาธิหนอนหัวใจ ภัยร้ายที่มากับยุง
ใกล้หน้าฝนเข้ามาทุกที วันนี้จะพาไปรู้จักกับโรคพยาธิหนอนหัวใจ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในสุนัข ที่มียุงเป็นพาหะนำโรค!!
12 OCT 2023
รักลูกให้ถูกทาง “ให้ยาให้ถูกวิธี” มากไปไม่ได้ น้อยไปไม่ดี แล้วที่ “พอดีและถูกต้อง” ต้องแบบไหน?
หากพาสุนัขไปตรวจวินิจฉัยกับสัตวแพทย์แล้วพบว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลที่ดีจะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยเฉพาะการให้ยาโรคหัวใจกับสุนัขอย่างพอดีและถูกต้อง
12 OCT 2023
5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยแล้ว โดยเฉพาะโรคหัวใจที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัข ก่อนที่สัตว์เลี้ยงของเราจะจากไป เราก็อยากมีเวลา ให้อยู่ด้วยกันได้นาน ๆ แต่การกระทำบางอย่างของเจ้าของ อาจทำให้สุนัขของเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอย่างที่คิด มาดู 5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ กัน
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่