รักลูกให้ถูกทาง “ให้ยาให้ถูกวิธี” มากไปไม่ได้ น้อยไปไม่ดี แล้วที่ “พอดีและถูกต้อง” ต้องแบบไหน?

12 OCT 2023
share :

หากพาสุนัขไปตรวจวินิจฉัยกับสัตวแพทย์แล้วพบว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลที่ดีจะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยเฉพาะการให้ยาโรคหัวใจกับสุนัขอย่างพอดีและถูกต้อง

สิ่งที่ควรทำในการให้ยาโรคหัวใจ

- เจ้าของควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับยาแต่ละชนิด ผลข้างเคียง เพื่อสังเกตอาการกรณีแพ้ยา หรือ การได้รับยาเกินขนาด ซึ่งอาจเกิดจากกรณีที่มีเจ้าของหลายคน แล้วป้อนยาซ้ำซ้อนกัน

- ควรให้ยาสม่ำเสมอ ตรงตามเวลา

- ควรให้ยาก่อนหรือหลังอาหารตามฉลากยาอย่างเคร่งครัด

- ในการนัดหมายกับสัตวแพทย์ทุกครั้ง ควรนำยาที่เหลือทั้งหมดติดไปด้วย เพื่อที่สัตวแพทย์จะได้ทำการตรวจประเมินผลหลังให้ยา และดูว่าสุนัขได้รับยาครบไหม

- หากมีกรณีที่สุนัขมีอาการทรุดลงหรือไม่คงที่ ไม่ทานอาหาร เจ้าของเลยไม่ได้ให้สุนัขกินยา ควรทำสมุดบันทึกและแจ้งให้สัตวแพทย์ทราบ

- ควรพาสุนัขไปตรวจเลือดเป็นระยะ เพื่อเฝ้าระวังการทำงานของตับ ไต และเกลือแร่ (เช่น โพแทสเซียม) กรณีได้รับยาเป็นเวลานานๆ

การออกกำลังกาย

- เนื่องจากสุนัขที่เป็นโรคหัวใจมักมีอาการเหนื่อยง่าย จึงควรเลือกพาไปออกกำลังกายปานกลาง ไม่ให้หนักจนเกินไป เพื่อให้เกิดการปรับการทำงานของหัวใจ เช่น การเดิน การว่ายน้ำหรือการวิ่ง ในระยะทางและระยะเวลาที่ไม่มากจนเกินไป

- ควรเป็นกิจกรรมที่สุนัขทำได้โดยไม่แสดงอาการเหนื่อย หรือต้องนั่งพักอยู่เป็นเวลานานระหว่างที่ทำหรือภายหลังกิจกรรม

- อย่างไรก็ตามไม่ควรบังคับสุนัขให้ไปออกกำลังกาย ให้สุนัขได้พักในเวลาที่อยากพัก และหากพบอาการเป็นลม ล้มฟุบ ควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันที

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

เอกสารอ้างอิง

บ้านและสวน PETS. โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในสุนัข. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565 จาก https://www.baanlaesuan.com/228344/pets/health/degenerative-valve-disease

โรงพยาบาลสัตว์ สัตว์แพทย์ 4. การดูแลน้องหมาหรือน้องแมวที่เป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2565 จาก https://www.vet4hospital.com/index.php?route=content/content&content_id=518

Riverstone animal hospital. How to Help a Dog with Congestive Heart Failure in Canton, GA. Retrieved October 31, 2022, from https://riverstoneanimalhospital.com/blog/congestive-heart-failure-in-dogs/

Bishop's Stortford Veterinary Hospital. Heart disease: drug treatment. Retrieved October 31, 2022, from https://www.stortvet.com/heart-disease-drug-treatment/

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

2 SEP 2021
การใช้ยาในการรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบันโดยมากจะเป็นการรักษาทางยา เพื่อชะลอไม่ให้สัตว์ป่วยเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจแล้ว สัตว์ป่วยจําเป็นจะต้องได้รับยาไปตลอดชีวิต
17 MAY 2021
การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าสุนัขมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนการปฏิบัติตัว เมื่อพบว่าสุนัขที่เราเลี้ยงมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ อย่างแรกต้องทำใจดีๆไว้ก่อน อย่าเพิ่งตื่นตระหนก โรคหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็จริง แต่หากเจ้าของสังเกตพบอาการผิดปกติเร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถเริ่มรักษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งเท่ากับจะเป็นการช่วยยืดอายุสุนัขให้สามารถอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
13 DEC 2022
เราต้องหมั่นพาน้องไปตรวจเช็คหัวใจบ่อยแค่ไหน?
โรคหัวใจในสุนัข เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด หรือจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจที่เกิดเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดที่หัวใจ ถุงหุ้มหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนควรเอาใจใส่ดูแล
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่