การปฏิบัติตัวเมื่อพบว่าสุนัขมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

17 MAY 2021
share :

วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนการปฏิบัติตัว เมื่อพบว่าสุนัขที่เราเลี้ยงมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

1. ทำใจดีๆไว้ก่อน อย่าเพิ่งตื่นตระหนก

โรคหัวใจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ก็จริง แต่หากเจ้าของสังเกตพบอาการผิดปกติเร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถเริ่มรักษาได้เร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งเท่ากับจะเป็นการช่วยยืดอายุสุนัขให้สามารถอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

2. ค้นหาโรงพยาบาล หรือศูนย์รักษาโรคหัวใจที่มีสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจที่อยู่ใกล้บ้าน และโทรศัพท์ไปนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย (ค้นหาโรงพยาบาล)

นอกจากความเชี่ยวชาญของสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเลือกโรงพยาบาลหรือศูนย์รักษาโรคหัวใจคือ ความสะดวกในการเดินทางไปสถานที่ดังกล่าว เนื่องจากโรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงแต่การรักษาที่ประคองอาการ และช่วยยืดอายุ จึงอาจกล่าวได้ว่า ต้องรักษากันไปตลอดชีวิตของสุนัข โรงพยาบาลหรือศูนย์รักษาโรคหัวใจที่เจ้าของเดินทางสะดวกจะช่วยให้การติดตามการรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

3. พาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ตามวันเวลาที่นัดหมาย

4. แจ้งอาการป่วยของสุนัขอย่างละเอียดตามที่ได้สังเกตเห็นแก่สัตวแพทย์ในระหว่างการสอบถามประวัติต่างๆ เพื่อให้สัตวแพทย์ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้ประกอบการวินิจฉัย

5. รอฟังผลการตรวจโรคหัวใจจากสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจ โดยสัตวแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากผลการซักประวิติ และผลการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

• การตรวจร่างกายโดยทั่วไป

• การตรวจหัวใจโดยใช้หูฟัง เพื่อฟังเสียงการเต้นของหัวใจและจับชีพจร

• การเอกซ์เรย์ช่องอก เพื่อตรวจความผิดปกติของหัวใจและปอด

• การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจหาความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจ

• การตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ไต ก่อนที่จะทำการรักษา รวมถึงการตรวจโรคพยาธิหนอนหัวใจ

• การอัลตร้าซาวน์หัวใจ เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจ และการทำงานของหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ เป็นต้น

เพียงเท่านี้ คุณก็จะสามารถทราบผลการตรวจโรคหัวใจของสุนัขได้โดยแม่นยำและถูกต้อง


สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

2 SEP 2021
การใช้ยาในการรักษาโรคหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบันโดยมากจะเป็นการรักษาทางยา เพื่อชะลอไม่ให้สัตว์ป่วยเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจแล้ว สัตว์ป่วยจําเป็นจะต้องได้รับยาไปตลอดชีวิต
27 OCT 2021
สุนัขเป็นโรคหัวใจจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานแค่ไหนกันนะ?
เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าเมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจแล้ว จะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานแค่ไหน? ข้อมูลอ้างอิงจากวารสารทางการแพทย์พบว่า ค่ากลางของกลุ่มสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจากโรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม
9 DEC 2021
รู้หรือไม่? น้องแมวก็ป่วยเป็นโรคหัวใจได้นะ
โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง หลายคนอาจเคยได้ยินว่ามักเกิดขึ้นในน้องหมา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในน้องแมวได้เช่นกัน โดยโรคหัวใจที่พบในแมวจะมีทั้งแบบโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด และโรคหัวใจหลังกำเนิด ซึ่งโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุดในแมว
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่