How to ก้าวข้ามความเศร้า ในวันที่เราต้องจากกัน

8 OCT 2024
share :

สุนัขไม่ได้เป็นแค่สัตว์เลี้ยง แต่พวกเขาคือเพื่อนแท้ ครอบครัว และเป็นความสุขของเรา การที่จะต้องจากลากับสุนัขที่เรารักไปจึงเป็นความเศร้าที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการจากลามาถึงอย่างกะทันหัน เช่น การจากลาด้วยโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามหากพบว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ การดูแลตามคำแนะนำจากสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด ให้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และการควบคุมอาหาร จะช่วยยืดอายุและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับสุนัขได้ ในบางกรณีแทบจะไม่ต่างกับสุนัขที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์เลย

การสูญเสียสุนัขก็เปรียบได้เหมือนการสูญเสียคนที่รัก เราอาจรู้สึกเศร้า โกรธ เหงา หรือรู้สึกผิด แต่อยากให้รับรู้ไว้ก่อนว่าความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติและจำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับ เพราะการปฏิเสธความรู้สึกจะยิ่งทำให้เราทุกข์ใจมากขึ้นไปอีก

วิธีรับมือกับความเศร้า

“จดจำไว้ว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติ”
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงประเภทไหน หรือแม้แต่มนุษย์เอง วันหนึ่งก็ต้องลาจากกันไป เพียงแต่อายุขัยของสุนัขนั้นสั้นไปเสียหน่อย และหากสุนัขต้องจากไปด้วยโรคร้าย ลองคิดเสียว่าสัตว์เลี้ยงของเราได้พ้นจากความทรมานและได้จากไปอย่างสงบแล้ว

“เปิดพื้นที่ให้ได้รำลึกถึงกัน”
การจัดพิธีรำลึก สร้างอนุสรณ์ให้กับสุนัขที่จากไป หรือหลายๆ คนอาจจะใช้วิธีทำบุญ จะช่วยให้เราได้รำลึกถึงช่วงเวลาดีๆ ถึงตัวเขาอยู่เสมอ การนึกถึงช่วงเวลาที่เราและสุนัขเคยมีความสุขร่วมกัน จะช่วยให้เรามีกำลังใจมากขึ้น

“ความเสียใจเป็นเรื่องปกติ ธรรมดา”
อนุญาตให้ตัวเองรู้สึก อย่ากลัวที่จะแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นการร้องไห้หรือแสดงออกถึงความรู้สึกเศร้าล้วนเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่เราควรจะต้องมีสติ ประคองตัวเองไว้ไม่ให้จมดิ่งกับความเศร้าจนมากเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้

“อย่าละเลยพื้นฐานการดูแลตัวเอง”
การกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมที่ชอบ จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงขึ้น หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายการฟังเพลง อ่านหนังสือ ทำสมาธิ หรือทำงานอดิเรกอื่นๆ จะช่วยให้เราผ่อนคลายความเครียดได้

“ไม่จมอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง”
พูดคุยกับผู้อื่น การแบ่งปันความคิด ความรู้สึกกับคนที่ไว้ใจจะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น หรืออาจขอคำแนะนำจากคนที่เคยสูญเสียสุนัขไป ก็จะช่วยให้เรารู้สึกว่าไม่ได้เศร้าใจอยู่เพียงคนเดียว ทุกคนล้วนต้องเผชิญกับความสูญเสียไม่ต่างกันกับเรา

“ถ้าไม่ไหว..ให้ยื่นมือหาผู้เชี่ยวชาญ”
หากความเศร้านั้นรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบจิตแพทย์หรือนักบำบัดทางจิตเพื่อขอคำปรึกษา

การเยียวยาใจต้องใช้เวลา อย่ารีบเร่งตัวเองในการกำจัดความเศร้า เช่น หากรู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะรับเลี้ยงสัตว์ตัวใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องบีบบังคับตัวเอง ใช้ช่วงเวลานี้ในการลองทำอะไรใหม่ๆ เปิดมุมมองที่แตกต่างออกไป จะช่วยให้เราค่อยๆ ก้าวผ่านความเศร้าไปได้

แม้ว่าการสูญเสียสุนัขจะเป็นเรื่องที่เจ็บปวด แต่ความรักและความผูกพัน และความทรงจำที่เรามีให้พวกเขาจะยังคงอยู่ตลอดไป การรำลึกถึงช่วงเวลาดีๆ และนำประสบการณ์ได้รับมาปรับใช้ในชีวิต จะช่วยให้เราเติบโตและเข้มแข็งขึ้น แล้วเราจะสามารถก้าวผ่านความเศร้าและเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ได้ในที่สุด ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่กำลังเผชิญกับความเศร้าจากการสูญเสียสุนัข

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

9 DEC 2021
รู้หรือไม่? น้องแมวก็ป่วยเป็นโรคหัวใจได้นะ
โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง หลายคนอาจเคยได้ยินว่ามักเกิดขึ้นในน้องหมา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในน้องแมวได้เช่นกัน โดยโรคหัวใจที่พบในแมวจะมีทั้งแบบโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด และโรคหัวใจหลังกำเนิด ซึ่งโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุดในแมว
11 MAR 2024
เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ-เริ่มต้นดูแลอย่างไรดี
โรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่ใช้เวลาในการเกิด และในน้องหมาหลายๆ ตัวนั้นอาจไม่ได้แสดงอาการชัดเจน เช่น ไม่ได้มีอาการไอ แต่กลับตรวจพบว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ จึงทำให้เจ้าของรู้สึกถึงความไม่ทันตั้งตัวและทำตัวไม่ถูกได้ เพราะที่ผ่านมาสุนัขก็ดูปกติ แข็งแรงดี แล้วจะเริ่มต้นดูแลอย่างไรให้เหมาะสม ลองมาดูขั้นตอนการเตรียมพร้อมกัน
28 JAN 2022
“โรคหัวใจในสุนัข” สำคัญอย่างไร รับรู้ให้ทัน..ก่อนสายเกินไป
โรคหัวใจเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในสุนัขหลายพันธุ์และหลายช่วงอายุ อีกทั้งยังสามารถก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ดังนั้นมาทำความรู้จักกับโรคหัวใจและวิธีรับมือก่อนจะสายกันดีกว่า
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่