ในสุนัขและแมวที่พบว่ามีปัญหาป่วยโรคหัวใจนั้น นอกจากยาโรคหัวใจที่เราจะใช้เพื่อช่วยในการรักษาแล้ว การจัดการปัจจัยด้านอื่น ๆ ก็ช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ การจัดการอาหารที่เหมาะสม ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการรักษาสัตว์ป่วยโรคหัวใจให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังอาจมีส่วนช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งในสัตว์แต่ละตัวก็มีการจัดการอาหารที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค การซักประวัติ การตรวจร่างกาย หรือการมีโรคระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เป็นต้น
ปริมาณพลังงานที่สัตว์เลี้ยงควรได้รับต่อวัน รวมทั้งปริมาณโปรตีนที่สัตว์ต้องการเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตเป็นเป้าหมายหลักที่เราควรคำนึงถึง เนื่องจากสัตว์ป่วยโรคหัวใจ มักมีปัญหาภาวะผอมแห้ง (cardiac cachexia) จากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นได้ง่าย ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงอาจมีภาวะเบื่ออาหารตามมา เราจึงควรเลือกชนิดของอาหาร และปริมาณของอาหารให้เหมาะสม เพื่อลดการเกิดภาวะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังมีสารอาหารบางชนิดที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับหัวใจในสัตว์เลี้ยง
เป็นกรดอะมิโนที่พบมากในกระดูกและกล้ามเนื้อหัวใจ มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของกรดไขมันในร่างกาย เพื่อช่วยเป็นแหล่งพลังงานให้สัตว์เลี้ยง และยังมีส่วนช่วยลดภาวะการไม่ทนต่อการออกกำลังกายในสุนัขที่ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ในสุนัขที่มีปัญหาโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ อาจพบว่าสุนัขขาดหรือมีปริมาณของแอลคาร์นิทินในร่างกายที่น้อยลง โดยปกติแอลคาร์นิทินสามารถพบได้มากในเนื้อสัตว์หรือน้ำนม นอกจากนี้เรายังสามารถเสริมแอลคาร์นิทินให้สัตว์เลี้ยงได้ในปริมาณ 500-1000 มิลลิกรัม/ตัว/วัน
เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญอีกตัวหนึ่งที่พบมากในกล้ามเนื้อหัวใจ มีส่วนช่วยให้หัวใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ ในแมวที่มีปัญหาโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ มักพบว่ามีความสัมพันธ์กับการขาดทอรีน เราอาจจำเป็นต้องเสริมทอรีนให้แมวร่วมด้วยในปริมาณ 250-1000 มิลลิกรัม/วัน อาจทำได้โดยการเลือกอาหารที่มีปริมาณทอรีนสูงเพื่อช่วยในการรักษาโรค โดยปกติทอรีนมักพบมากในเนื้อสัตว์ เพราะฉะนั้นการให้สัตว์เลี้ยงกินอาหารที่เจ้าของปรุงเอง อาหารที่มีคุณภาพต่ำ หรืออาหารมังสวิรัติ ก็อาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงได้รับปริมาณทอรีนที่น้อยลงได้
โอเมก้า-3 ประกอบไปด้วย EPA และ DHA ที่มีส่วนช่วยลดการผลิตสารที่เกิดจากการอักเสบของร่างกาย ป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในสัตว์ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ มักพบว่าโอเมก้า-3 จะลดลง ดังนั้นการเสริมโอเมก้า-3 ให้สัตว์เลี้ยง จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร ช่วยลดการเกิดภาวะผอมแห้งจากการสูญเสียกล้ามเนื้อ (cardiac cachexia) และยังช่วยลดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง (remodeling) ของหัวใจได้ ปกติเรามักพบโอเมก้า – 3 ได้ในปลาทะเลน้ำลึก
ในสัตว์ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะมีการกระตุ้นระบบการทำงานบางอย่างที่ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำและโซเดียมในร่างกายได้ ดังนั้นเราจึงควรจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหารไม่ให้สูงเกินไป เพื่อช่วยลดความรุนแรงและชะลอการพัฒนาของโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยงได้ ซึ่งการจำกัดปริมาณของโซเดียมนั้นก็ขึ้นกับแต่ละช่วงระยะของโรคด้วย
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย และยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย โคเอนไซม์คิว – 10 พบมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาทะเล นอกจากนี้เราอาจเสริมโคเอนไซม์คิว-10 เพิ่มในสุนัขที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ แนะนำให้สัตว์เลี้ยงกินในขนาด 100-400 มิลลิกรัม/ตัว/วัน
นอกจากสารอาหารที่เหมาะสมแล้ว ปริมาณน้ำที่สัตว์เลี้ยงควรได้รับในแต่ละวันก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะในรายที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว และได้รับการรักษาด้วยยาขับน้ำร่วมด้วย ก็ควรให้สัตว์เลี้ยงได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะการขาดน้ำในสัตว์เลี้ยงตามมา ซึ่งอาจส่งผลให้สัตว์เลี้ยงมีภาวะไตวายตามมาได้
จะเห็นได้ว่าการจัดการด้านสารอาหารถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลจัดการสัตว์ป่วยโรคหัวใจ ให้สัตว์เลี้ยงมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นได้
สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”
ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch