อัตราการหายใจ บอกอะไรได้มากกว่าที่คิด.... พร้อมวิธีเช็กการหายใจของสุนัขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน

21 JUN 2022
share :

เมื่อสุนัขป่วย อาการที่มักสังเกตได้ชัดเจนคืออาการสุนัขเบื่ออาหาร ซึม ซึ่งอาการเหล่านี้ถือเป็นอาการพื้นฐานของการป่วยหลายโรคในสุนัข แต่นอกจากหลักสังเกตตามอาการข้างต้นแล้ว รู้หรือไม่ว่ายังมีหลักสังเกตอีกหนึ่งอย่าง ที่จะช่วยให้เจ้าของรู้ได้ว่าสุนัขของเรายังมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ นั่นคือ “การสังเกตอัตราการหายใจ”

โดยปกติแล้ว อัตราการหายใจของสุนัขสุขภาพดี ในขณะที่สุนัขหลับสนิท ควรมีอัตราการหายใจไม่ควรเกิน 30 ครั้งต่อนาที โดยเมื่อสุนัขหายใจเข้าและออก จึงจะนับเป็น 1 ครั้ง ซึ่งอัตราการหายใจถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมากสำหรับสัตวแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยโรคในสุนัข เนื่องจากอัตราการหายใจสามารถบ่งบอกถึงความเกี่ยวข้องของโรคในสุนัขได้หลายโรค เช่น โรคหัวใจในสุนัข โรคระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบ โรคพยาธิหนอนหัวใจ หรือโรคอื่นๆ

อัตราการหายใจผิดปกติในสุนัข คือการที่สุนัขมีอัตราการหายใจช้าหรือเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาทีดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ทั้งนี้เจ้าของยังสามารถสังเกตพฤติกรรมอื่น ๆ ของสุนัขที่เกี่ยวข้องกับการหายใจได้ง่าย ๆ เช่น เมื่อสุนัขเล่น ออกกำลังกาย หรือเดินขึ้นบันได แล้วสุนัขนมีอาการเหนื่อยง่าย หอบ หรือหายใจถี่และแรงกว่าเดิมหรือไม่ โดยบางครั้งอาจมีอาการสุนัขไอแห้งร่วมด้วย หากสุนัขของท่านเริ่มมีพฤติกรรมเหล่านี้ อาจหมายความว่าสุนัขกำลังมีอัตราการหายใจที่ผิดปกติ และกำลังเสี่ยงป่วยเป็นโรคอยู่ก็เป็นได้

หากเจ้าของต้องการเช็กอัตราการหายใจของสุนัขเพื่อความแน่ใจว่าสุนัขของท่านมีอัตราการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ก็ยังมีวิธีเช็กอัตราการหายใจของสุนัขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยการนับอัตราการหายใจขณะหลับสนิท (Sleeping Respiratory Rate; SRR) ซึ่งสามารถทำได้โดยการสังเกตการหายใจเข้า-หายใจออกของสุนัขในขณะที่สุนัขหลับสนิท โดยเมื่อสุนัขหายใจเข้าและหายใจออก จึงนับเป็น 1 ครั้ง และระยะเวลาในการนับจะมี 3 แบบ คือ 15 วินาที 30 วินาที และ 60 วินาที เพื่อการนับอัตราการหายใจที่แม่นยำ ในขณะที่กำลังทำการนับอัตราการหายใจนั้น สุนัขควรได้รับการพักผ่อนไปแล้วมากกว่า 30 นาที หรือได้นอนหลับไปแล้วมากกว่า 15 นาที อยู่ในท่านอนตะแคงหรือนอนคว่ำ และไม่มีอาการเหนื่อยหอบ เมื่อนับครบตามเวลาที่กำหนดแล้ว เจ้าของควรจดบันทึกผลเอาไว้ทุกครั้ง

หากเจ้าของท่านใดกำลังรู้สึกว่าการนับอัตราการหายใจด้วยวิธีนี้ยุ่งยากเกินไป ต้องทั้งจับเวลา ทั้งนับการหายใจเข้า-ออก ทั้งยังต้องจดบันทึก เรามีตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของทุกท่านสามารถนับอัตราการหายใจของสุนัขได้ง่ายขึ้น แนะนำ Heart2Heart แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้เจ้าของสามารถนับอัตราการหายใจของสุนัข บันทึกจัดเก็บประวัติอัตราการหายใจของสุนัขในแต่ละวัน สามารถเรียกดูผลย้อนหลังได้ และสามารถแสดงค่าความผิดปกติของสุนัขที่อาจเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขได้ในแอปพลิเคชันเดียว ทั้งยังสามารถค้นหาโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน พร้อมหาเบอร์ติดต่อกับคุณหมอหรือโรงพยาบาลได้ด้วย ทุกอย่างง่ายแค่ปลายนิ้ว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของสุนัขที่คุณรัก

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

31 OCT 2024
เมื่อสุนัขเข้าสู่วัยชรา เสี่ยงสารพัดโรค รวมทั้งโรคหัวใจ
เช่นเดียวกับมนุษย์ สุนัขก็มีวัยชราเช่นกัน และเมื่อเข้าสู่วัยชรา สุนัขก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบอวัยวะที่เสื่อมตามกาลเวลา หนึ่งในโรคที่พบบ่อยและน่ากังวลคือ โรคหัวใจ
9 JAN 2023
วิธีรับมือกับความสูญเสีย ทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน
ในชีวิตคนเรา ถึงแม้ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีใครที่จะสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้ ซึ่งในสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มีอายุขัยที่สั้นกว่าคน หรืออาจจากไปเพราะโรคต่างๆ จึงควรเตรียมความพร้อมรับมือกับความสูญเสียไว้ก่อน เผื่อวันที่เราต้องจากลากันมาถึง
17 MAY 2021
สายพันธุ์สุนัขที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคหัวใจในสุนัขเกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัจจัยหนึ่งที่สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่ สายพันธุ์สุนัข ในปัจจุบันพบว่าสุนัขหลายสายพันธุ์มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาโรคหัวใจขึ้น อย่างไรก็ตาม
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่