ไม่ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณจะเป็นสุนัขหรือแมว ก็สามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ วันนี้จะมาแชร์เคล็ดลับวิธีการดูแลเมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยเป็นโรคหัวใจ เพื่อให้สัตว์ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่กับเราได้นานที่สุด
โรคหัวใจในสุนัขหรือโรคหัวใจในแมว เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงต้องอาศัยความมีวินัย และความเอาใจใส่ของเจ้าของในการพาสัตว์ป่วยไปพบสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจสุนัขเป็นประจำและต่อเนื่อง เพื่อตรวจสภาพร่างกาย และประเมินอาการเพื่อปรับการให้ยาให้เหมาะสมกับโรคหัวใจที่เป็นและอาการของสัตว์ป่วย ณ ปัจจุบัน นอกจากนี้การไปพบสัตวแพทย์สม่ำเสมอยังช่วยให้สัตวแพทย์สามารถปรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ในกรณีที่สัตว์ป่วยมีอาการแย่ลง
ในวิธีรักษาสุนัขป่วยหรือแมวป่วยเป็นโรคหัวใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกใช้ยาโรคหัวใจสุนัขหรือยาโรคหัวใจแมวที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง หลีกเลี่ยงการซื้อยาออนไลน์ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับยาที่ด้อยคุณภาพ ยาเถื่อน ยาปลอม หรือยาไม่ผ่านมาตรฐาน เมื่อสัตว์ป่วยทานยาที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านี้ไป จะไม่สามารถควบคุมอาการป่วยได้ และอาจมีความเสี่ยงทำให้สัตว์ป่วยถึงแก่ชีวิตอีกด้วย เพื่อความปลอดภัย จึงควรใช้ยาโรคหัวใจสุนัขหรือยาโรคหัวใจแมวที่ได้รับการจ่ายโดยสัตวแพทย์เท่านั้น เมื่อได้รับยามาแล้ว การดูแลสุนัขป่วยหรือแมวป่วย เจ้าของต้องทำการป้อนยาสัตว์ป่วยอย่างสม่ำเสมอ ตรงตามขนาดและเวลาที่ฉลากกำหนดอย่างเคร่งครัด เมื่อยาใกล้หมด ควรรีบพาสัตว์ป่วยมาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจติดตามผลการรักษา และรับยาไปทานอย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยให้สัตว์ป่วยขาดยาเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้โรคหัวใจมีการดำเนินไปในทางที่แย่ลง
เจ้าของควรหมั่นสังเกตอาการสุนัขป่วยหรือแมวป่วย ทั้งด้านพฤติกรรม ความอยากอาหาร ปริมาณน้ำที่ทาน เมื่อเทียบจากปกติที่เคยเป็น ตลอดจนความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น สุนัขไอแห้ง สุนัขไอเรื้อรัง สุนัขเบื่ออาหาร ซึม หอบ หายใจเร็วขึ้น ท้องโตขึ้น เพราะอาการเหล่านี้อาจบ่งชี้ถึงผลข้างเคียงที่เกิดจากการให้ยาโรคหัวใจสุนัขและแมว หรืออาการที่สัตว์เลี้ยงทรุดลงจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคหัวใจหรือโรคทางระบบอื่น ๆ
สัตว์ที่ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ อย่างไรก็ตาม เจ้าของสามารถพาสัตว์ป่วยไปออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การเดินในระยะสั้น ๆ ในที่ที่แดดไม่ร้อนจัดเป็นประจำได้ ภายใต้การดูแลของเจ้าของอย่างเคร่งครัด
หากสัตว์ป่วยมีภาวะหัวใจล้มเหลว แนะนำให้ควบคุมปริมาณเกลือ (sodium chloride) และปรับสมดุลอาหารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเจ้าของสามารถเลือกซื้ออาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคหัวใจโดยตรง เนื่องจากมีการคำนวณสูตรอาหารและมีปริมาณเกลือในอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ
สุดท้ายนี้ อยากฝากถึงเจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกท่าน แนะนำให้พาสัตว์เลี้ยงของท่านไปตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะทำให้สัตวแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว และสัตว์ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสัตว์ป่วย ทั้งในด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอายุไขเฉลี่ยที่มากขึ้น มาค้นหาโรงพยาบาลสัตว์ หรือศูนย์โรคหัวใจสุนัขใกล้บ้านกันเลย
สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”
ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch