สุนัขนั้นมีหัวใจ 4 ห้องเช่นเดียวกับคน ห้องหัวใจฝั่งขวาจะรับเลือดดำมาแล้วส่งไปฟอกที่ปอด จากนั้นเลือดแดงที่ผ่านการฟอกที่ปอดแล้วจึงกลับมายังห้องหัวใจฝั่งซ้าย ห้องหัวใจแต่ละห้องจะมีลิ้นหัวใจทำหน้าที่กั้นเลือดไม่ให้ไหลย้อนกลับเวลาหัวใจบีบตัวเพื่อให้เลือดไหลเวียนเป็นทางเดียวกัน ลิ้นหัวใจไมทรัล คือลิ้นหัวใจที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย เมื่อหัวใจคลายตัวเพื่อรับเลือดแดงที่ฟอกจากปอดแล้วมายังหัวใจห้องบนซ้าย ลิ้นหัวใจไมทรัลจะเปิดออกเพื่อให้เลือดไหลลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายจนเต็ม หลังจากนั้นกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายจะบีบตัวเพื่อส่งเลือดที่ฟอกที่ปอดแล้วออกทางหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป ในจังหวะนี้ที่หัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัว ปกติลิ้นหัวใจไมทรัลจะปิดเพื่อกั้นเลือดไม่ให้ไหลย้อนกลับไปยังหัวใจห้องบนซ้ายอีก
โดยทั่วไปอวัยวะจะเสื่อมตามกาลเวลา ลิ้นหัวใจก็เช่นเดียวกัน เมื่อเสื่อมจะมีพังผืดเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจซึ่งปกติจะเป็นเนื้อเยื่ออ่อนที่มีลักษณะเป็นแผ่นเรียบและบางเกิดการหนาตัวขึ้น มีผิวขรุขระ และอาจหดรั้งเข้า ทำให้ไม่สามารถปิดได้สนิทดังเดิม นอกจากนี้ยังอาจมีสาเหตุมาจากการอักเสบของลิ้นหัวใจที่ได้รับผลกระทบมาจากความเจ็บป่วยอื่นของสุนัขเอง หรือบางรายอาจเป็นมาแต่กำเนิดได้ อย่างไรก็ตามโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วมากที่สุดในสุนัข
ได้แก่ สุนัขที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป โดยสายพันธุ์ขนาดเล็กมีโอกาสพบได้มากกว่าสายพันธุ์ขนาดกลางและใหญ่
1. กลุ่มที่ยังไม่แสดงอาการ สุนัขกลุ่มนี้แม้จะมีการรั่วของลิ้นหัวใจแล้ว แต่หัวใจยังสามารถปรับตัวทำงานชดเชยได้
2. กลุ่มที่แสดงอาการของโรคหัวใจ คือสุนัขที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวแล้ว เนื่องจากลิ้นหัวใจไมทรัลที่รั่วส่งผลให้เกิดการคั่งเลือดที่หัวใจฝั่งซ้ายมากเกินไปจนทำให้เกิดการคั่งเลือดที่ปอด และเกิดภาวะปอดบวมน้ำตามมา สุนัขอาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ผอมลง หรือแสดงอาการหายใจเร็ว (อัตราการหายใจขณะนอนหลับเกิน 30 ครั้ง/นาที) ในสุนัขบางตัวอาจมีอาการหายใจลำบาก สังเกตได้จากอาการอ้าปากหายใจหรือพยายามเหยียดคอ แหงนหน้าหายใจ สีเหงือกและลิ้นซีดลง หรืออมม่วง และอาจมีอาการไอ
ประกอบด้วยหลายขั้นตอน เริ่มจากการซักประวัติ สัตวแพทย์ฟังพบเสียงลิ้นหัวใจผิดปกติ แล้วจึงทำการถ่ายภาพรังสีช่องอก ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และยืนยันโดยการตรวจด้วยคลื่นสะท้อนหัวใจความถี่สูง (echocardiography)
การรักษาในปัจจุบันจะเป็นการรักษาทางอายุรกรรมเพื่อประคับประคองอาการเพื่อให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยสัตวแพทย์จะต้องทำการประเมินระยะของโรคในสุนัขแต่ละรายก่อน จึงจะให้การรักษาตามความเหมาะสม ซึ่งสุนัขที่มีอาการทุกรายจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนในสุนัขที่ไม่แสดงอาการอาจได้รับคำแนะนำให้รับยาด้วยหากตรวจพบว่าเริ่มมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนการรักษาทางศัลยกรรมนั้นมีความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายสูงจึงยังไม่เป็นที่แพร่หลาย
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันความเสื่อมของลิ้นหัวใจไมทรัลได้ จึงแนะนำให้พาสุนัขไปตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อที่จะสามารถรับมือกับโรคนี้ได้ตั้งแต่สุนัขยังไม่แสดงอาการป่วย ทำให้ยืดระยะเวลาการเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและการมีชีวิตรอดได้
สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”
ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch