“หัวใจ” เป็นอวัยวะที่สำคัญมีหน้าที่สูบฉีดเลือด เพื่อนำสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายสัตว์เลี้ยง จึงจำเป็นที่เราจะต้องใส่ใจในเรื่องของหัวใจ เพราะหากหัวใจไม่แข็งแรงหรือทำงานผิดปกติ ก็อาจจะส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ตามมา
เราจะทราบว่าหัวใจปกติหรือผิดปกติ ก็ด้วยวิธีการวินิจฉัย ซึ่งมีหลายวิธีร่วมกัน โดยสัตวแพทย์ จะเริ่มจากการวินิจฉัย โรคหัวใจเบื้องต้น โดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินว่าสัตว์เลี้ยง มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจหรือไม่ จากนั้นสัตวแพทย์จึงพิจารณาการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ช่องอก (Chest X-ray) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ ECG (Electrocardiogram) การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ หรือ เอ็คโค่หัวใจ (Echocardiogram) การตรวจเลือด หรืออาจมีการตรวจหัวใจ ด้วยวิธีพิเศษอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและดุลพินิจของสัตวแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าติดตามตัว 24-72 ชั่วโมง (Holter monitoring) การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) การตรวจหัวใจด้วยเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ (Cardiac CT-scan) และการตรวจหัวใจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)
1. ช่วงเริ่มต้นโปรแกรมการฉีดวัคซีน เป็นช่วงที่สัตว์เลี้ยงอายุยังน้อย เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้น โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย เนื่องจากโรคหัวใจพิการตั้งแต่เกิดพบได้ในสัตว์เลี้ยงที่อายุยังน้อย
2. สายพันธุ์สุนัขและแมวที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ สามารถพาไปตรวจหัวใจได้ตั้งแต่อายุยังน้อยและอาจตรวจเป็นประจำทุกปี โดยสุนัขพันธุ์ใหญ่อาจมีความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เช่น บ็อกเซอร์, โดเบอร์แมน, ค็อกเกอร์สแปเนียล, โกลเด้นรีทรีฟเวอร์, ดัลเมเชี่ยน, เกรทเดน, ไอริชวูล์ฟฮาวด์, โปรตุกีสวอร์เตอร์ด็อก, ชเนาเซอร์ สุนัขพันธุ์เล็กอาจมีความเสี่ยงต่อโรคลิ้นหัวใจเสื่อม เช่น คาวาเรีย คิงส์ชาร์ล สแปเนียล, ดัชชุน, มินิเอเจอร์ พูเดิ้ล ส่วนในแมว สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา เช่น เมนคูน, แร็คดอล, สฟิงซ์ และเปอร์เซียเป็นต้น
3. เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปกติ เช่น ไอ เหนื่อยง่าย เป็นลม ตัวซีด หรือท้องมาน เป็นต้น
4. เมื่อสัตว์เลี้ยงมีความจำเป็นที่จะต้องถูกระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย(วางยาสลบ) ควรได้รับการตรวจเช็คสุขภาพหัวใจก่อนเสมอ
5. เมื่อพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนประจำปี ควรได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไป และตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเบื้องต้น
6. เมื่อสัตว์เลี้ยงเข้าสู่วัยชรา ในแมวและสุนัขพันธุ์เล็ก อายุประมาณ 7 ปี ในสุนัขพันธุ์ใหญ่อายุประมาณ 5-6 ปี
โรคหัวใจพิการตั้งแต่เกิดบางชนิด หากตรวจพบโรคได้เร็ว ก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และช่วยให้สัตว์เลี้ยงหายป่วยได้ ในสุนัขที่โตแล้ว โรคหัวใจบางชนิดเช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หรือ โรคลิ้นหัวใจเสื่อม เมื่อตรวจพบอยู่ในระยะที่ยังไม่แสดงอาการ การให้ยารักษาอาจช่วยยืดระยะเวลาการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวออกไปได้ หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์
สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น
ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch