เสียงหัวใจบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด

14 JUN 2021
share :

หัวใจถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด เนื่องจากทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากหัวใจหยุดทำงาน ก็จะไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทำให้สัตว์เสียชีวิตได้

หัวใจของสุนัขและแมวประกอบด้วย 4 ห้อง ได้แก่ ห้องบนขวา ห้องล่างขวา ห้องบนซ้าย และห้องล่างซ้าย โดยมีลิ้นหัวใจไตรคัสปิดกั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวาและห้องล่างขวา และลิ้นหัวใจไมทรัลกั้นระหว่างหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย นอกจากนี้ยังมีลิ้นพัลโมนิก และลิ้นเอออร์ติก ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นระหว่างหัวใจกับหลอดเลือด โดยลิ้นพัลโมนิกกั้นระหว่างห้องหัวใจล่างขวา กับหลอดเลือดที่นำเลือดไปที่ปอด (Pulmonary trunk) ส่วนลิ้นเอออร์ติกทำหน้าที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ที่นำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ในทุกรอบที่หัวใจทำงานจะทำให้เกิดเสียงหัวใจดังขึ้น โดยเจ้าของสามารถได้ยินเสียงหัวใจ เมื่อเอาหูแนบที่หน้าอกของสัตว์เลี้ยง อย่างไรก็ตาม เสียงหัวใจที่ได้ยินจะชัดขึ้น เมื่อฟังเสียงโดยใช้หูฟัง หรือ Stethoscope ในสภาวะปกติ เสียงที่ได้ยินจะแบ่งเป็น 2 เสียง ได้แก่

• เสียง ลับ (lub) : เกิดจากการปิดของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่าง (ลิ้นไมทรัลทางด้านซ้าย และลิ้นไตรคัสปิดทางด้านขวา)

• เสียง ดับ (dup) : เกิดจากการปิดของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างและหลอดเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจ (ลิ้นพัลโมนิก และลิ้นเอออร์ติก)

เมื่อมีเสียงหัวใจที่ผิดปกติเกิดขึ้น สัตวแพทย์จะทราบได้จากการฟังเสียงหัวใจโดยใช้หูฟัง หรือ Stethoscope โดยเสียงหัวใจที่ผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุด ได้แก่ “เสียงฟู่” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมอร์เมอร์” (Murmur) ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากภายในหัวใจมีการไหลของเลือดสวนทางแทนที่จะมีการไหลแบบพุ่งตรงไปด้านหน้าอย่างเดียว เสียงฟู่นี้อาจบ่งชี้ถึงการเกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจ เช่น ภาวะลิ้นหัวใจรั่ว โดยมักมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจที่พบปัญหาได้บ่อยคือลิ้นหัวใจไมทรัล หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม ส่วนใหญ่เสียงฟู่ที่เกิดขึ้นจะได้ยินได้ด้วยการฟังผ่านหูฟัง (Stethoscope) เท่านั้น ระดับเสียงฟู่ที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระดับ* ดังนี้

• เกรด 1 (Grade I) : เสียงฟู่ที่ได้ยินจะเบามาก จะได้ยินเฉพาะเมื่อฟังเสียงในห้องที่เงียบมาก

• เกรด 2 (Grade II) : เสียงฟู่ที่ได้ยินจะเบามาก

• เกรด 3 (Grade III) : ได้ยินเสียงฟู่เฉพาะตําแหน่งของลิ้นหัวใจที่เกิดการรั่ว

• เกรด 4 (Grade IV) : ได้ยินเสียงฟู่ทั่วทั้งบริเวณอก (แม้ไม่ได้ฟังตรงตําแหน่งของลิ้นหัวใจที่เกิดการรั่ว)

• เกรด 5 (Grade V) : ได้ยินเสียงฟู่ทั่วทั้งบริเวณอก และสัมผัสการสั่นสะเทือนได้เมื่อนำมือไปวางบริเวณอก

• เกรด 6 (Grade VI) : ได้ยินเสียงฟู่แม้ไม่ได้ใช้หูฟัง (Stethoscope)

ระดับเสียงฟู่ที่ได้ยินสามารถช่วยบ่งชี้ถึงระดับความรุนแรงของโรคและการพัฒนาดำเนินไปของโรคได้ ยิ่งเสียงฟู่อยู่ในเกรดที่สูงขึ้นแสดงถึงการรั่วของลิ้นหัวใจที่มากขึ้น อาการที่พบก็จะรุนแรงขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้สัตว์ป่วยอาจมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบเสียงฟู่ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นก็จะเริ่มเข้ารับการรักษาได้ไว ทำให้สัตว์ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานขึ้น เนื่องจากเสียงฟู่ที่เกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นมักจะได้ยินมานานหลายปีก่อนที่จะมีการพัฒนาของโรคจนเกิดอาการทางคลินิก

จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า เสียงหัวใจบอกอะไรได้มากกว่าที่คิด มาเริ่มฟังเสียงหัวใจกันตั้งแต่วันนี้ที่ศูนย์โรคหัวใจ และโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน

*Reference: Kittleson MD, Kienle RD. Small Animal Cardiovascular Medicine. St. Louis, MO: Mosby Inc.; 1998

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

24 FEB 2022
‘ยาโรคหัวใจสุนัข’ ยาสำหรับสุนัขเป็นโรคหัวใจ สังเกตอย่างไรให้มั่นใจว่าไม่ใช่ยาปลอม?
โรคหัวใจในสุนัข ภัยอันตรายใกล้ตัวที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะเราสามารถช่วยยืดอายุของสุนัขที่ป่วยได้ด้วยยาโรคหัวใจสุนัข
13 DEC 2022
เราต้องหมั่นพาน้องไปตรวจเช็คหัวใจบ่อยแค่ไหน?
โรคหัวใจในสุนัข เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด หรือจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจที่เกิดเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดที่หัวใจ ถุงหุ้มหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนควรเอาใจใส่ดูแล
30 JUN 2022
รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่