เราต้องหมั่นพาน้องไปตรวจเช็คหัวใจบ่อยแค่ไหน?

13 DEC 2022
share :

โรคหัวใจในสุนัข เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของหัวใจตั้งแต่แรกเกิด หรือจากความผิดปกติของโครงสร้างและการทำหน้าที่ของหัวใจที่เกิดเมื่อสุนัขอายุมากขึ้น เช่น ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดที่หัวใจ ถุงหุ้มหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ดังนั้นผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนควรเอาใจใส่ดูแล

หากน้องหมามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ จะส่งสัญญาณอย่างไร?

อย่างที่หลายๆ คนทราบกันว่าโรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจอาการเริ่มต้นของโรคหัวใจเป็นอย่างดี และสังเกตอย่างสม่ำเสมอว่าสุนัขมีอาการที่เข้าข่ายหรือไม่ เช่น ซึม เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย หอบ-หายใจลำบาก ไอแห้ง ๆ บางตัวอาจแสดงอาการลิ้นม่วง หมดสติ ทั้งนี้อาจมีสุนัขที่ไม่แสดงอาการออกมาชัดเจน เพราะอาการจากโรคหัวใจบางชนิดที่แตกต่างกัน มีผลทำให้สุนัขเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

เราควรพาน้องไปตรวจเช็คหัวใจบ่อยแค่ไหน?

เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะพาสุนัขไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และทุก 6 เดือนสำหรับสุนัขที่มีอายุมาก และอาจมีการตรวจเฉพาะทางเกี่ยวกับหัวใจเพิ่มเติม กรณีที่มีอาการล้มฟุบหมดสติ หรืออยู่ในสายพันธุ์สุนัขที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจในสุนัข สัตวแพทย์จะตรวจร่างกายโดยทั่วไป ตรวจหัวใจโดยใช้หูฟังเสียงการเต้นของหัวใจและจับชีพจร หากหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจแนะนำให้ตรวจด้วยวิธีการอื่นเพิ่มเติม เช่น

  • เอ็กซ์เรย์ช่องอก เพื่อตรวจขนาดของหัวใจ และภาวะของปอด
  • ตรวจความดันเลือด เนื่องจากภาวะความดันเลือดสูงหรือความดันเลือดต่ำมักมีความสัมพันธ์กับโรค
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ตรวจเลือด ตรวจโรคพยาธิหนอนหัวใจ การทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ไต
  • อัลตร้าซาวน์ เพื่อดูโครงสร้างของหัวใจ

ซึ่งหากตรวจพบ ก็อยากย้ำให้เจ้าของตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตระหนก ทำความเข้าใจว่าความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โรคหัวใจบางชนิดอาจไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยการใช้ยา การออกกำลังกาย การกินอาหารที่เหมาะสมตามคำแนะนำจากสัตวแพทย์ และการตรวจพบปัญหาโรคหัวใจในระยะแรก ๆ จะทำให้การรักษาเกิดขึ้นเร็ว ทำให้น้องอยู่กับเราได้อีกนาน

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

เอกสารอ้างอิง

Dr. Ruth MacPete, DVM. Dogs and Heart Disease: An Overview . Retrieved October 28, 2022, from https://www.pethealthnetwork.com/dog-health/dog-diseases-conditions-a-z/dogs-and-heart-disease-overview

GoodVets. Canine Cardiology. Retrieved October 28, 2022, from https://www.good-vets.com/services/dogs/dog-cardiologist

โรงพยาบาลสัตว์ สัตว์แพทย์ 4. อันตรายของโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565 จาก https://www.vet4hospital.com/index.php?route=content/content&content_id=424

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

12 OCT 2023
รักลูกให้ถูกทาง “ให้ยาให้ถูกวิธี” มากไปไม่ได้ น้อยไปไม่ดี แล้วที่ “พอดีและถูกต้อง” ต้องแบบไหน?
หากพาสุนัขไปตรวจวินิจฉัยกับสัตวแพทย์แล้วพบว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การดูแลที่ดีจะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยเฉพาะการให้ยาโรคหัวใจกับสุนัขอย่างพอดีและถูกต้อง
12 OCT 2023
5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยแล้ว โดยเฉพาะโรคหัวใจที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัข ก่อนที่สัตว์เลี้ยงของเราจะจากไป เราก็อยากมีเวลา ให้อยู่ด้วยกันได้นาน ๆ แต่การกระทำบางอย่างของเจ้าของ อาจทำให้สุนัขของเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอย่างที่คิด มาดู 5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ กัน
30 JUN 2022
รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่