การดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจ ไม่ยากอย่างที่คิด?

28 MAR 2022
share :

เราเชื่อว่าเจ้าของสุนัขทุกคน ไม่มีใครอยากให้น้องป่วย แต่บางครั้งเรื่องของโรคภัยก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ ซึ่งโรคหัวใจในสุนัขก็เป็นหนึ่งในโรคเหล่านั้น แต่ถึงแม้สุนัขป่วยโรคหัวใจแล้ว เจ้าของก็ยังอยากดูแลน้องให้ดีที่สุดเพื่อให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับเราได้นาน ๆ ซึ่งการดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด

วิธีการดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจง่าย ๆ ที่เจ้าของสุนัขป่วยโรคหัวใจสามารถทำได้เอง มีเพียง 3 ข้อหลัก ดังนี้

1. สังเกตสุนัขอยู่เสมอ โดยสิ่งที่ควรสังเกตสุนัขของเราอยู่เสมอ คือ

สังเกตพฤติกรรมทั่วไปของสุนัข ในเรื่องของพฤติกรรมการกินอาหารและกินน้ำของสุนัข สำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจ โดยปกติโรคหัวใจในสุนัข จะทำให้มีอาการสุนัขเบื่ออาหาร ซึม น้ำหนักลดอยู่แล้ว แต่หากเจ้าของสังเกตเห็นว่าสุนัขมีพฤติกรรมกินอาหารและน้ำน้อยลงกว่าเดิม ทั้งยังมีน้ำหนักลดน้อยลงกว่าเดิม ควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ประจำทันที

สังเกตอัตราการหายใจ สุนัขป่วยโรคหัวใจมักมีอาการสุนัขหายใจลำบาก สุนัขหายใจหอบ ถี่ แต่โดยปกติแล้วเมื่อสุนัขป่วยโรคหัวใจกำลังนอนหลับสนิท สุนัขควรมีอัตราการหายใจไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที หากสุนัขมีอัตราการหายใจสูงหรือถี่กว่านี้ อาจเป็นสัญญาณว่าสุนัขกำลังจะมีภาวะน้ำท่วมปอดได้

สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจในสุนัขป่วยโรคหัวใจ ในกรณีที่หัวใจเต้นช้า ไม่ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที และในกรณีที่หัวใจเต้นเร็ว ไม่ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน 160 ครั้งต่อนาที โดยเจ้าของสามารถสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจจากการแตะที่บริเวณขาหนีบของสุนัขและนับชีพจรเมื่อสุนัขกำลังพักผ่อนหรือนอนหลับสนิท

2. ให้ยาและอาหารที่เหมาะสม

การให้ยาที่เหมาะสม เจ้าของควรให้ยาโรคหัวใจสุนัขแก่สุนัขป่วยโรคหัวใจอย่างเคร่งครัดตามที่สัตวแพทย์สั่ง โดยการให้ยาโรคหัวใจสุนัขที่สั่งโดยสัตวแพทย์เท่านั้น ซึ่งยาที่สัตวแพทย์จ่ายให้จะตรงกับอาการป่วยของสุนัข เจ้าของไม่ควรซื้อยาเอง เนื่องจากอาจเสี่ยงเจอยาเถื่อน ยาปลอม หรือยาไม่ได้มาตรฐาน เจ้าของควรให้ยารักษาโรคหัวใจสุนัขแก่สุนัขป่วยโรคหัวใจตรงตามเวลาที่สัตวแพทย์แนะนำ

การให้อาหารที่เหมาะสม สุนัขป่วยโรคหัวใจควรได้รับอาหารที่เหมาะสม เพื่อประคองอาการป่วยและไม่ให้โรคหัวใจในสุนัขมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม โดยอาหารที่สุนัขป่วยโรคหัวใจควรได้รับ ควรเป็นอาหารที่มีค่าโซเดียมต่ำหรืออาหารสำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ

3. พาสุนัขออกกำลังกายและพบสัตวแพทย์อย่างเป็นประจำ

การออกกำลังกาย สำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจ การออกกำลังกายก็ยังคงเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้สุนัขมีสุขภาพที่ดี แต่การออกกำลังกายในสุนัขป่วยโรคหัวใจนั้น เจ้าของควรพาสุนัขออกกำลังกายเบา ๆ เช่น พาสุนัขไปเดินเล่นในสถานที่ที่แดดไม่ร้อนจัด อยู่ในร่ม และอยู่ในความดูแลของเจ้าของอยู่เสมอ

การพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปพบสัตวแพทย์ เจ้าของควรพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่สัตวแพทย์นัด เพื่อติดตามอาการและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าของสามารถพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปพบสัตวแพทย์ได้ที่ศูนย์โรคหัวใจสุนัขหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน

การดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจจากเจ้าของ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ หากเจ้าของใส่ใจดูแลอย่างเคร่งครัด นอกจากวิธีเหล่านี้แล้ว สุนัขยังสามารถสัมผัสได้ถึงความรักที่เจ้าของมีให้น้องอีกด้วย ซึ่งกำลังใจจากเจ้าของก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถช่วยให้สุนัขป่วยโรคหัวใจมีคุณภาพชีวิตและมีกำลังใจที่ดีขึ้นได้ ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน หรือตรวจเช็คความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจสุนัขเบื้องต้นได้ที่ Your Pet Heart : ดูแลหัวใจ ห่วงใยสัตว์เลี้ยง

Michele Taylor. Congestive Heart Failure in Dogs. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://pets.webmd.com/dogs/congestive-heart-failure-dogs (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ อาร์ทีบี. โรคหัวใจในสุนัข. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: http://rtbcenter.com/new/th/2017/04/18/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82-2/ (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4. การดูแลน้องหมาหรือน้องแมวที่เป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://www.vet4hospital.com/index.php?route=content/content&path=7&content_id=518 (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4. อาการแบบไหนที่ควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://www.vet4hospital.com/index.php?route=content/content&content_id=380 (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

สพ.ญ.ชัญภร กวางรัตน์. การดูแลสัตวป่วยโรคหัวใจที่บ้าน. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://thonglorpet.com/th/diary/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-home-care-of-the-heart-failure-patient (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

16 AUG 2021
การดูแลอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคหัวใจ
เพราะหัวใจไม่เคยหยุดพัก...มีอวัยวะหนึ่งของคนเรารวมถึงของน้องหมาที่ขยันขันแข็ง ทำงานตลอดเวลา หนักบ้าง เบาบ้าง แต่ก็ไม่เคยได้หยุดพักเลย ซึ่งอวัยวะที่กล่าวถึงก็คือหัวใจนั่นเอง
12 OCT 2023
บทสัมภาษณ์ รักและแคร์ เลยขอแชร์ฟีลลิ่ง “เมื่อรู้ว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ”
บทสัมภาษณ์นี้พบกับเรื่องราวของคุณยุ้ย กับน้องมอลลี่และท็อดดี้ ชิวาว่าวัยเก๋า ที่ถึงแม้จะตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ แต่พลังความน่ารักสดใสก็ไม่ได้ลดลงไปเลย คุณยุ้ยมีวิธีดูแลน้องๆ ให้ยังดูสดใสแข็งแรง ไปพร้อมกับดูแลความรู้สึกของตัวเองอย่างไร? มาหาคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์พิเศษ “รักและแคร์ เลยขอแชร์ฟีลลิ่ง เมื่อรู้ว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ” นี้ไปพร้อมกันได้เลย
17 MAY 2021
การดูแลสัตว์ป่วยโรคหัวใจ
แม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การจัดการดูแลที่เหมาะสมจะช่วยให้สัตว์ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาวขึ้นได้ โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการจัดการดูแลสัตว์ป่วยโรคหัวใจก็คือเจ้าของสัตว์นั่นเอง มาลองดูวิธีการจัดการดูแลสัตว์ป่วยโรคหัวใจง่ายๆ โดยใช้หลัก 3 ประการ ดังนี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่