น้องหมาอายุน้อยก็เป็นโรคหัวใจได้ เกิดจากอะไร ป้องกันได้ไหมนะ?

12 OCT 2023
share :

น้องโรวา ดัลเมเชียนอายุ 2 เดือน มาตรวจสุขภาพเพื่อทำวัคซีนเข็มแรก คุณหมอประจำบ้านตรวจพบเสียงลิ้นหัวใจรั่ว ดังฟู่วววววว ๆๆๆ จากการใช้สเตทโตสโคปฟังเสียงหัวใจ จึงรีบส่งตัวมาพบคุณหมอเฉพาะโรคหัวใจ คุณแม่ของน้องเล่าให้ฟังว่า น้องโรวาก็ดูร่าเริงดี วิ่งเล่นกับเพื่อนได้ปกติ คุณหมอขอตรวจหัวใจอย่างละเอียด ทั้งการเอกเรย์ช่องอกเพื่อดูขนาดของหัวใจและเนื้อปอด ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างยิ่ง คือ การอัลตราซาวน์หัวใจ ใช้เวลาไม่นานมากนัก เราก็ทราบถึงโรคหัวใจที่น้องเป็น นั่นคือ น้องเป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด ชนิดลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบแต่อยู่ในระยะไม่แสดงอาการ คุณหมอแจ้งคุณแม่ให้ทราบว่า ตอนนี้หัวใจห้องล่างขวากำลังทำงานหนักเพื่อบีบเลือดไปฟอกที่ปอด อาการแสดงที่อาจจะพบ ได้แก่ อาการเหนื่อยหอบ ลิ้นสีคล้ำม่วงและเป็นลมได้ โดยเฉพาะตอนที่น้องทำกิจกรรมบางอย่างที่ออกแรงเยอะ เช่น การวิ่ง กระโดด เล่น หรือ เห่าแรงๆ จึงขอให้คุณแม่เฝ้าสังเกตอาการน้องโรวาเป็นพิเศษและพาน้องมาตรวจหัวใจตามระยะค่ะ

เรามาทำความรู้จัก โรคหัวใจแต่กำเนิดกันค่ะ

ตามปกติแล้วโรคหัวใจแต่กำเนิดพบได้น้อยมาก เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เซลล์เริ่มมีการแบ่งตัวเลยทีเดียว โรคนี้มีชื่อว่า “โรคลิ้นหัวใจเส้นเลือดไปปอดตีบ หรือ Pulmonic stenosis” สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามตำแน่งของการตีบค่ะ สำหรับน้องโรวาเป็นกลุ่มที่ตีบตรงบริเวณลิ้น จึงเรียกว่า Valvular pulmonic stenosis ซึ่งกลุ่มนี้พบบ่อยที่สุดเลยค่ะ สายพันธุ์ที่พบได้แก่ English Bulldog, French Bulldog, Miniature Pinscher และ Boxer เป็นต้น โรคหัวใจกลุ่มนี้จะทำให้หัวใจห้องขวาโตและส่งเลือดไปฟอกที่ปอดไม่ดี น้องๆ ก็จะแสดงอาการเหนื่อยง่ายเวลาวิ่งเล่น ร่างกายไม่ค่อยโต และเป็นลมได้ค่ะ

เราจะทราบได้อย่างไรว่า เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด

เราต้องทำการตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ เป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก หรือ ซับซ้อน และน้องๆ ไม่ต้องถูกวางยาสลบในขั้นตอนนี้ค่ะ และคุณหมออาจจะทำการเอกเรย์ช่องอก และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อนำมาวินิจฉัยร่วมกันค่ะ

สามารถรักษาได้มั้ย

การรักษาจะขึ้นกับว่า น้องมีความรุนแรงของการตีบมากแค่ไหน และ ตำแหน่งของการตีบค่ะ หากอยู่ในกลุ่มของการตีบระดับเฉพาะลิ้นและไม่มีโครงสร้างผิดปกติของเส้นเลือดอื่นร่วมด้วย อาจสามารถทำการขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูนได้ ในสุนัขในกลุ่มการตีบนั้นมีความรุนแรงไม่มาก น้องๆ ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีปัญหาอะไรเลยก็มีเช่นกันค่ะ

การตรวจสุขภาพร่างกายตามรอบอายุ ไม่ว่าจะเด็กหรือโตแล้วมีความสำคัญมากค่ะ หากพบเสียงหัวใจที่ผิดปกติในลูกสัตว์อายุน้อย ควรพามาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจหัวใจอย่างละเอียดกันด้วยนะคะ และน้องๆที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิดนั้นไม่ควรนำมาเป็นคุณพ่อคุณแม่นะคะ

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

บทความนี้เขียนโดย สพญ. รติพร ตันติศักดิ์

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

13 DEC 2022
สารอาหารสำคัญชนิดไหนที่ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
ในสุนัขและแมวที่พบว่ามีปัญหาป่วยโรคหัวใจนั้น นอกจากยาโรคหัวใจที่เราจะใช้เพื่อช่วยในการรักษาแล้ว การจัดการปัจจัยด้านอื่น ๆ ก็ช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ การจัดการอาหารที่เหมาะสม ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการรักษาสัตว์ป่วยโรคหัวใจให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น อีกทั้งยังอาจมีส่วนช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งในสัตว์แต่ละตัวก็มีการจัดการอาหารที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค การซักประวัติ การตรวจร่างกาย หรือการมีโรคระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เป็นต้น
10 OCT 2023
ข้อแตกต่างระหว่างสุนัขที่เป็นโรคลิ้นหัวใจไมทรัลเสื่อม (MMVD) กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ (DCM)
เมื่อมีสุนัขเข้ามาในโรงพยาบาล 2 ตัว โดยทั้ง 2 ตัวเป็นสุนัขที่มีอายุมากแล้ว ตัวหนึ่งเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก มาด้วยอาการไอ หายใจลำบาก ส่วนอีกตัวเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ มีอาการอ่อนแรง เหนื่อยง่าย ทุกท่านทราบหรือไม่ว่า หากเป็นโรคหัวใจ สุนัขทั้ง 2 ตัว จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจชนิดใด
12 OCT 2023
แม้น้องหมาต้องอยู่คู่กับโรคหัวใจ ก็อายุยืนขึ้นได้ ด้วยวิธีนี้
หมอแนะนำเจ้าของให้ทำการตรวจวินิจฉัยเรื่องโรคหัวใจเพิ่มเติม เพื่อทำการประเมินระยะของโรค หลังทำการวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพรังสีและอัลตร้าซาวน์หัวใจ (echocardiography) แล้ว พบว่าน้องพิริ เป็นโรคหัวใจในระยะหัวใจโตแต่ยังไม่มีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วม (stage B2)
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่