ความเสี่ยงซื้อยาออนไลน์ อาจเป็นอันตรายกับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะการรักษาโรคหัวใจ

2 SEP 2021
share :

คงต้องยอมรับว่าผู้บริโภคอย่างพวกเราเริ่มมีความเคยชินกับการจับจ่ายซื้อขายของผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ประกอบกับช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เป็นตัวเร่งการเติบโตของการซื้อของออนไลน์ หากใครที่ไม่เคยซื้อก็เริ่มได้ซื้อ ใครที่ไม่ค่อยได้สั่ง ก็ได้สั่งมากขึ้น จนกลายเป็นความเคยชินแล้วก็ว่าได้

สาเหตุสำคัญของการซื้อสินค้าออนไลน์มีอยู่หลายประการ เช่น ความสะดวกสบาย และส่วนหนึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อที่หน้าร้าน ความสะดวกที่มากกว่า เนื่องจากเราไม่ต้องเดินทาง สามารถคุยกับผู้ขายได้ด้วยปลายนิ้ว แถมมีคนมาส่งให้ถึงหน้าบ้าน ส่วนร้านค้าก็ไม่ต้องมีหน้าร้าน จึงสามารถลดต้นทุนไปได้มาก

ถึงแม้การหาซื้อยาออนไลน์จะทำได้ง่ายแต่กรณีของยารักษาโรคหัวใจอาจเป็นข้อยกเว้น เพราะเป็นโรคที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอเป็นระยะเวลายาวนานและต่อเนื่อง เนื่องจากโรคนี้สามารถทำให้สัตว์เลี้ยงของเราเสียชีวิตได้ ซึ่งเวลาเราพาไปพบตรวจอาการที่โรงพยาบาล ก็จะพบว่าคุณหมอจะมีการตรวจเช็คอาการและปรับปริมาณยา รวมทั้งชนิดยาให้เหมาะสมกับอาการที่เป็นอยู่ตลอด โดยไม่ได้ใช้หลักการคำนวณปริมาณยาตามน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่ยังต้องประเมินการให้ยาตามอาการและระดับความรุนแรงของโรคหัวใจอีกด้วย

ดังนั้นในกรณีของการซื้อยารักษาโรคหัวใจให้สัตว์เลี้ยงด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์ สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้อย่างคาดไม่ถึง ขอยกตัวอย่างเป็นกรณีที่สามารถพบได้จริง เช่น

1. อาการป่วยคล้ายกัน แต่ปริมาณยาและชนิดยาที่ให้อาจจะแตกต่างกันตามสภาวะสุขภาพของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัว

2. อาการป่วยเดิม อาจไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาเดิม เนื่องจากอาการของโรคหัวใจ หากไม่ทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่เลือกใช้ยาไม่เหมาะสมก็อาจทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่รุนแรงขึ้น จนเสียชีวิตได้

3. การใช้ยามากเกินจำเป็น โดยทั่วไปหากเราไปพบคุณหมอ คุณหมอจะจ่ายยาตามที่เห็นสมควร และนัดหมายเฝ้าระวังตามอาการและประเภทยาที่ใช้

4. การใช้ปริมาณยาที่ไม่เหมาะสม โดยปริมาณยาต่อตัวหรือต่อน้ำหนักของน้องหมาต้องผ่านการคำนวณโดยคุณหมอเสียก่อน เพื่อไม่ให้เราเสียเงินเปล่าไปกับการใช้ยาที่ผิดวิธี หรืออาจอันตรายถึงชีวิตหากใช้ยามากเกินขนาดหรือผิดวิธี

5. ยาเถื่อน ยาปลอม ยาไม่ผ่านมาตรฐาน อาจไม่ได้รับการควบคุมคุณภาพที่ดีพอ การซื้อยาผ่านช่องอาจมีความเสี่ยงที่จะได้ยาด้อยคุณภาพจากการซื้อออนไลน์และเป็นยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจากทางอย.

เจ้าของสัตว์เลี้ยงทุกคนล้วนอยากให้สัตว์เลี้ยงของเรามีสุขภาพที่ดี และมีชีวิตอยู่กับเราไปได้อีกนาน ๆ ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าในกลุ่มที่มีผลต่อสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมั่นใจจริง ๆ ว่าได้รับผลิตภัณฑ์หรือยาที่มีคุณภาพที่ดี ปลอดภัย ทราบวิธีและปริมาณการใช้ยาอย่างถูกต้อง ซึ่งการได้รับยาและคำแนะนำโดยตรงจากคุณหมอ ร่วมกับมีการตรวจเช็คอาการเป็นระยะ จะช่วยให้ผลของการรักษาดียิ่งขึ้นและช่วยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กับเราได้ไปอีกยาวนาน

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

6 AUG 2021
วิธีการให้ยาในสุนัขและแมวที่เป็นโรคหัวใจ
เมื่อสุนัขและแมวที่เป็นโรคหัวใจ มีภาวะหัวใจล้มเหลว สัตวแพทย์จะจ่ายยาโรคหัวใจเพื่อช่วยควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้น ช่วยลดภาวะปอดบวมน้ำ ท้องมาน หรืออาการบวมตามร่างกาย
19 APR 2022
คำแนะนำจากคุณหมอ-เคล็ดลับการดูแลรักษาแมวป่วยโรคหัวใจให้เค้าอยู่กับเราไปอีกนาน
เมื่อความสำเร็จในการรักษาโรคหัวใจในแมวนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงกับคุณหมอผู้ทำการรักษาน้องแมวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับการดูแลน้องแมวจากเจ้าของด้วย บทความนี้จึงแนะนำให้เจ้าของลองมาดูกันว่าควรดูแลแมวเป็นโรคหัวใจอย่างไร ให้เค้าสามารถอยู่กับเราไปได้อีกนาน
11 JAN 2022
การประเมินอาการสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาโรคหัวใจหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่บ้าน
เมื่อสัตว์เลี้ยงของเรา มีอาการที่ผิดปกติ เช่น เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก มีอาการไอแห้งบ่อย ๆ ในสุนัข หรือแสดงอาการไม่ใช้สองขาหลังเฉียบพลัน ซึ่งมักพบได้บ่อยในแมว เจ้าของควรนำสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ หลังจากทำการตรวจวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์แล้ว
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่