โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว

29 JUL 2021
share :

หน้าฝนแบบนี้ป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจให้น้องแมวกันรึยังคะ?

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวสามารถพบได้ในแมวทุกพันธุ์และทุกช่วงอายุ โรคนี้จะมียุงเป็นพาหะนำโรคเช่นเดียวกันกับในสุนัข สาเหตุของโรคนี้เกิดจากยุงไปกัดสุนัขที่ติดพยาธิหนอนหัวใจ ทำให้ตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจเข้าสู่ตัวยุง ซึ่งตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจจะฟักตัวอยู่ในยุงจนกลายเป็นตัวอ่อนระยะติดโรค จากนั้นเมื่อยุงที่มีตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจไปกัดแมว ก็จะทำให้ตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจเข้าสู่ร่างกายแมว จากนั้นตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจจึงเคลื่อนเข้าสู่กระแสเลือดและไปเจริญต่อในส่วนของหลอดเลือดที่ปอด ซึ่งหากตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจสามารถเจริญไปเป็นตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ตัวอ่อนพยาธิหนอนหัวใจมักไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยได้ จึงมักไม่ค่อยพบพยาธิตัวเต็มวัยในหัวใจแมว

อาการ

อาการที่พบมีตั้งแต่ไอ หอบ หายใจลำบาก ระบบทางเดินหายใจและหัวใจล้มเหลว แต่แมวบางตัวอาจมีอาการไม่มาก ขณะที่แมวบางตัวอาจเสียชีวิตฉับพลัน โดยที่ไม่มีอาการหรือความผิดปกติมาก่อนได้

การวินิจฉัย และการรักษา

การวินิจฉัยทำได้ค่อนข้างยาก จำเป็นต้องใช้ผลการทดสอบจากหลากหลายวิธี ทั้งการตรวจเลือด การใช้ชุดทดสอบ ร่วมกับอาการป่วยของแมว และยังมีการนำผลการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การถ่ายภาพรังสี การตรวจหัวใจด้วยวิธีคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงมาพิจารณาร่วมด้วย

ปัจจุบันพยาธิหนอนหัวใจในแมวยังไม่มียารักษาเหมือนอย่างในสุนัข ส่วนใหญ่มักเป็นการให้ยารักษาตามอาการ เช่น การให้ยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบที่ปอด ดังนั้นการให้ยาป้องกันโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวจึงมีความสำคัญ เพื่อลดโอกาสการติดและการเสียชีวิตจากโรคนี้ในแมว

การป้องกันพยาธิหนอนหัวใจในแมว

ควรทำการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจในแมวทุกตัวอย่างต่อเนื่องทุกเดือน เนื่องจากแมวมีโอกาสติดพยาธิหนอนหัวใจได้ทุกเมื่อ ซึ่งการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจในแมวสามารถทำได้ดังนี้

1. ป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด

เช่น กางมุ้งให้แมวนอน จุดยากันยุงสำหรับแมว กำจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง

2. ป้องกันโดยการใช้ยาหยดหลังป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ

สามารถเริ่มโปรแกรมได้ตั้งแต่ลูกแมวอายุ 7 สัปดาห์ขึ้นไป โดยจะต้องทำการหยดยาที่หลังคอเดือนละครั้ง แม้ว่ายาที่ใช้ในแมวจะเป็นยากลุ่มเดียวกับยาป้องกันพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข แต่ขนาดยาที่ใช้ในแมวจะแตกต่างจากในสุนัข ดังนั้นจึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อการป้องกันการติดพยาธิหนอนหัวใจในแมวโดยเฉพาะเท่านั้น

สามารถเข้ารับคำปรึกษาเรื่องการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้าน เพียงเท่านี้น้องแมวของเราก็จะปลอดภัย ห่างไกลจากพยาธิหนอนหัวใจแล้วค่ะ

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

27 JUL 2022
“ยาโรคหัวใจสุนัข” ห้ามหยุด ห้ามพัก ห้ามขาดยาเองเด็ดขาด! และเหตุผลที่ต้องให้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง
โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข มักพบในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน และสุนัขบางสายพันธุ์ที่มีโรคหัวใจสุนัขเป็นโรคประจำสายพันธุ์ โรคหัวใจสุนัขนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจสุนัขยังถือเป็นหนึ่งในโรคที่มีวิธีรักษาเพื่อให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้
17 MAY 2021
สายพันธุ์สุนัขที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
อย่างที่ทราบกันดีว่า โรคหัวใจในสุนัขเกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัจจัยหนึ่งที่สามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่ สายพันธุ์สุนัข ในปัจจุบันพบว่าสุนัขหลายสายพันธุ์มีแนวโน้มจะเกิดปัญหาโรคหัวใจขึ้น อย่างไรก็ตาม
30 JUN 2022
รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่