รู้ได้อย่างไร? ว่าสุนัขของเราเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

30 JUN 2022
share :

โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการเป็นโรคหัวใจในสุนัขตั้งแต่กำเนิด (Congenital heart disease) หรือโรคหัวใจในสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired heart disease) เช่น ในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน อีกทั้งโรคหัวใจยังเป็นโรคประจำสายพันธุ์ของสุนัขในบางสายพันธุ์อีกด้วย แล้วสุนัขของเรามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจหรือไม่? จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขมีความเสี่ยง?

วิธีสังเกตความเสี่ยงโรคหัวใจในสุนัข

1. สำรวจปัจจัยภายในที่อาจทำให้สุนัขเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น อายุที่มากขึ้นของสุนัข น้ำหนักของสุนัขที่มากจนอยู่ในเกณฑ์อ้วน และสายพันธุ์สุนัขที่มักพบว่ามีโรคหัวใจเป็นโรคประจำสายพันธุ์ ในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น Poodle, Shi Tzu, Pomeranian และสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น Cocker Spaniels, Dalmatians, Doberman Pinschers, Great Danes, Golden Retrivers

2. สำรวจปัจจัยภายนอกที่อาจทำให้สุนัขเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เช่น ปริมาณโซเดียมในอาหารหรือขนมที่สุนัขกิน โดยส่วนมาก อาหารหรือขนมสุนัขส่วนมากมักมีปริมาณโซเดียมที่สูง ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้สุนัขเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ เจ้าของจึงควรดูโภชนาการให้ละเอียดก่อนเลือกซื้อ เพื่อสุขภาพที่ดีของสุนัข อีกปัจจัยภายนอกที่พบได้บ่อยอีกปัจจัยหนึ่งคือสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย หากสภาพแวดล้อมที่สุนัขอยู่อาศัยมียุงเยอะ ก็อาจทำให้สุนัขเสี่ยงเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ เนื่องจากโรคพยาธิหนอนหัวใจนั้นมียุงเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นเจ้าของจึงควรป้องกันยุงให้สุนัขและกำจัดแหล่งน้ำขังในบริเวณใกล้เคียง เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของยุง

3. สังเกตพฤติกรรมสุนัข หากสุนัขมีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น สุนัขซึม สุนัขอ่อนเพลีย สุนัขเบื่ออาหาร สุนัขน้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สุนัขเหนื่อยง่าย สุนัขไอแห้ง สุนัขไอเรื้อรัง สุนัขท้องมาน และสุนัขหายใจหอบถี่ขณะหลับ พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจในสุนัข เจ้าของควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของสุนัขและนับอัตราการหายใจของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ

4. พาสุนัขไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ พาสุนัขไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ที่โรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้านหรือศูนย์โรคหัวใจสุนัข เพื่อให้สุนัขได้รับการวินิจฉัยอย่างละเอียดและแม่นยำ หากสุนัขมีความเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขแล้ว จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

หากสุนัขของคุณเข้าข่ายหรือมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ควรระมัดระวังว่าสุนัขของคุณอาจมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขสูง เจ้าของควรหมั่นพาสุนัขไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์อย่างเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และในขณะที่อยู่บ้าน เจ้าของควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของสุนัขอยู่เสมอ โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการนับอัตราการหายใจของสุนัขขณะหลับ ยิ่งมีเทคโนโลยีในปัจจุบันด้วยแล้ว ยิ่งช่วยให้เจ้าของสามารถดูแลและรู้ทันความเสี่ยงของโรคหัวใจในสุนัขได้ง่ายขึ้น แนะนำ Heart2Heart App แอปพลิเคชันช่วยนับอัตราการหายใจของสุนัข และยังช่วยทั้งบันทึกผล จัดเก็บประวัติ และยังแจ้งเตือนให้เจ้าของนับอัตราการหายใจให้สุนัขได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถเรียกดูผลย้อนหลังเพื่อดูความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา รู้เท่าทันความเสี่ยงโรคหัวใจในสุนัข เพื่อให้น้องอยู่รักกันไปได้อีกนาน

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

27 JUL 2022
“ยาโรคหัวใจสุนัข” ห้ามหยุด ห้ามพัก ห้ามขาดยาเองเด็ดขาด! และเหตุผลที่ต้องให้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง
โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข มักพบในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน และสุนัขบางสายพันธุ์ที่มีโรคหัวใจสุนัขเป็นโรคประจำสายพันธุ์ โรคหัวใจสุนัขนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจสุนัขยังถือเป็นหนึ่งในโรคที่มีวิธีรักษาเพื่อให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้
11 MAR 2024
เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ-เริ่มต้นดูแลอย่างไรดี
โรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่ใช้เวลาในการเกิด และในน้องหมาหลายๆ ตัวนั้นอาจไม่ได้แสดงอาการชัดเจน เช่น ไม่ได้มีอาการไอ แต่กลับตรวจพบว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ จึงทำให้เจ้าของรู้สึกถึงความไม่ทันตั้งตัวและทำตัวไม่ถูกได้ เพราะที่ผ่านมาสุนัขก็ดูปกติ แข็งแรงดี แล้วจะเริ่มต้นดูแลอย่างไรให้เหมาะสม ลองมาดูขั้นตอนการเตรียมพร้อมกัน
24 AUG 2022
เพราะรักจึงต้องดูแล เช็คให้ชัวร์อาการนี้ “ป่วยทั่วไป” หรือ “สัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจ”
โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการผิดปกติให้เจ้าของได้รับรู้ จนกว่าสุนัขจะป่วยเป็นโรคหัวใจสุนัขไปแล้วระยะหนึ่ง อาการผิดปกติต่าง ๆ จึงจะเริ่มแสดงให้เห็นชัดขึ้น อย่างไรก็ตามอาการเริ่มต้นของโรคหัวใจสุนัขก็มีความคล้ายกับอาการเมื่อสุนัขป่วยทั่วไป แต่จะมีบางอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นเจ้าของจึงควรสังเกตให้ดีว่าอาการที่สุนัขของเรากำลังเป็นอยู่นี้คืออาการป่วยทั่วไปหรือสัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจสุนัข
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่