การดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจ ไม่ยากอย่างที่คิด?

28 MAR 2022
share :

เราเชื่อว่าเจ้าของสุนัขทุกคน ไม่มีใครอยากให้น้องป่วย แต่บางครั้งเรื่องของโรคภัยก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ ซึ่งโรคหัวใจในสุนัขก็เป็นหนึ่งในโรคเหล่านั้น แต่ถึงแม้สุนัขป่วยโรคหัวใจแล้ว เจ้าของก็ยังอยากดูแลน้องให้ดีที่สุดเพื่อให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับเราได้นาน ๆ ซึ่งการดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนคิด

วิธีการดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจง่าย ๆ ที่เจ้าของสุนัขป่วยโรคหัวใจสามารถทำได้เอง มีเพียง 3 ข้อหลัก ดังนี้

1. สังเกตสุนัขอยู่เสมอ โดยสิ่งที่ควรสังเกตสุนัขของเราอยู่เสมอ คือ

สังเกตพฤติกรรมทั่วไปของสุนัข ในเรื่องของพฤติกรรมการกินอาหารและกินน้ำของสุนัข สำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจ โดยปกติโรคหัวใจในสุนัข จะทำให้มีอาการสุนัขเบื่ออาหาร ซึม น้ำหนักลดอยู่แล้ว แต่หากเจ้าของสังเกตเห็นว่าสุนัขมีพฤติกรรมกินอาหารและน้ำน้อยลงกว่าเดิม ทั้งยังมีน้ำหนักลดน้อยลงกว่าเดิม ควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ประจำทันที

สังเกตอัตราการหายใจ สุนัขป่วยโรคหัวใจมักมีอาการสุนัขหายใจลำบาก สุนัขหายใจหอบ ถี่ แต่โดยปกติแล้วเมื่อสุนัขป่วยโรคหัวใจกำลังนอนหลับสนิท สุนัขควรมีอัตราการหายใจไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที หากสุนัขมีอัตราการหายใจสูงหรือถี่กว่านี้ อาจเป็นสัญญาณว่าสุนัขกำลังจะมีภาวะน้ำท่วมปอดได้

สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของหัวใจในสุนัขป่วยโรคหัวใจ ในกรณีที่หัวใจเต้นช้า ไม่ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที และในกรณีที่หัวใจเต้นเร็ว ไม่ควรมีอัตราการเต้นของหัวใจเกิน 160 ครั้งต่อนาที โดยเจ้าของสามารถสังเกตอัตราการเต้นของหัวใจจากการแตะที่บริเวณขาหนีบของสุนัขและนับชีพจรเมื่อสุนัขกำลังพักผ่อนหรือนอนหลับสนิท

2. ให้ยาและอาหารที่เหมาะสม

การให้ยาที่เหมาะสม เจ้าของควรให้ยาโรคหัวใจสุนัขแก่สุนัขป่วยโรคหัวใจอย่างเคร่งครัดตามที่สัตวแพทย์สั่ง โดยการให้ยาโรคหัวใจสุนัขที่สั่งโดยสัตวแพทย์เท่านั้น ซึ่งยาที่สัตวแพทย์จ่ายให้จะตรงกับอาการป่วยของสุนัข เจ้าของไม่ควรซื้อยาเอง เนื่องจากอาจเสี่ยงเจอยาเถื่อน ยาปลอม หรือยาไม่ได้มาตรฐาน เจ้าของควรให้ยารักษาโรคหัวใจสุนัขแก่สุนัขป่วยโรคหัวใจตรงตามเวลาที่สัตวแพทย์แนะนำ

การให้อาหารที่เหมาะสม สุนัขป่วยโรคหัวใจควรได้รับอาหารที่เหมาะสม เพื่อประคองอาการป่วยและไม่ให้โรคหัวใจในสุนัขมีความรุนแรงขึ้นกว่าเดิม โดยอาหารที่สุนัขป่วยโรคหัวใจควรได้รับ ควรเป็นอาหารที่มีค่าโซเดียมต่ำหรืออาหารสำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ

3. พาสุนัขออกกำลังกายและพบสัตวแพทย์อย่างเป็นประจำ

การออกกำลังกาย สำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจ การออกกำลังกายก็ยังคงเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้สุนัขมีสุขภาพที่ดี แต่การออกกำลังกายในสุนัขป่วยโรคหัวใจนั้น เจ้าของควรพาสุนัขออกกำลังกายเบา ๆ เช่น พาสุนัขไปเดินเล่นในสถานที่ที่แดดไม่ร้อนจัด อยู่ในร่ม และอยู่ในความดูแลของเจ้าของอยู่เสมอ

การพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปพบสัตวแพทย์ เจ้าของควรพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่สัตวแพทย์นัด เพื่อติดตามอาการและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าของสามารถพาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปพบสัตวแพทย์ได้ที่ศูนย์โรคหัวใจสุนัขหรือโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน

การดูแลสุนัขป่วยโรคหัวใจจากเจ้าของ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นได้ หากเจ้าของใส่ใจดูแลอย่างเคร่งครัด นอกจากวิธีเหล่านี้แล้ว สุนัขยังสามารถสัมผัสได้ถึงความรักที่เจ้าของมีให้น้องอีกด้วย ซึ่งกำลังใจจากเจ้าของก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถช่วยให้สุนัขป่วยโรคหัวใจมีคุณภาพชีวิตและมีกำลังใจที่ดีขึ้นได้ ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์ใกล้บ้าน หรือตรวจเช็คความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจสุนัขเบื้องต้นได้ที่ Your Pet Heart : ดูแลหัวใจ ห่วงใยสัตว์เลี้ยง

Michele Taylor. Congestive Heart Failure in Dogs. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://pets.webmd.com/dogs/congestive-heart-failure-dogs (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

โรงพยาบาลสัตว์รัตนาธิเบศร์ อาร์ทีบี. โรคหัวใจในสุนัข. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: http://rtbcenter.com/new/th/2017/04/18/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82-2/ (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4. การดูแลน้องหมาหรือน้องแมวที่เป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://www.vet4hospital.com/index.php?route=content/content&path=7&content_id=518 (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

โรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4. อาการแบบไหนที่ควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://www.vet4hospital.com/index.php?route=content/content&content_id=380 (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

สพ.ญ.ชัญภร กวางรัตน์. การดูแลสัตวป่วยโรคหัวใจที่บ้าน. (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://thonglorpet.com/th/diary/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-home-care-of-the-heart-failure-patient (เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2565)

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

12 OCT 2023
บทสัมภาษณ์ รักและแคร์ เลยขอแชร์ฟีลลิ่ง “เมื่อรู้ว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ”
บทสัมภาษณ์นี้พบกับเรื่องราวของคุณยุ้ย กับน้องมอลลี่และท็อดดี้ ชิวาว่าวัยเก๋า ที่ถึงแม้จะตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ แต่พลังความน่ารักสดใสก็ไม่ได้ลดลงไปเลย คุณยุ้ยมีวิธีดูแลน้องๆ ให้ยังดูสดใสแข็งแรง ไปพร้อมกับดูแลความรู้สึกของตัวเองอย่างไร? มาหาคำตอบได้ในบทสัมภาษณ์พิเศษ “รักและแคร์ เลยขอแชร์ฟีลลิ่ง เมื่อรู้ว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ” นี้ไปพร้อมกันได้เลย
16 AUG 2021
การดูแลอาหารสำหรับสัตว์ป่วยโรคหัวใจ
เพราะหัวใจไม่เคยหยุดพัก...มีอวัยวะหนึ่งของคนเรารวมถึงของน้องหมาที่ขยันขันแข็ง ทำงานตลอดเวลา หนักบ้าง เบาบ้าง แต่ก็ไม่เคยได้หยุดพักเลย ซึ่งอวัยวะที่กล่าวถึงก็คือหัวใจนั่นเอง
17 MAY 2021
การดูแลสัตว์ป่วยโรคหัวใจ
แม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การจัดการดูแลที่เหมาะสมจะช่วยให้สัตว์ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอายุยืนยาวขึ้นได้ โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการจัดการดูแลสัตว์ป่วยโรคหัวใจก็คือเจ้าของสัตว์นั่นเอง มาลองดูวิธีการจัดการดูแลสัตว์ป่วยโรคหัวใจง่ายๆ โดยใช้หลัก 3 ประการ ดังนี้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่