แม้น้องหมาต้องอยู่คู่กับโรคหัวใจ ก็อายุยืนขึ้นได้ ด้วยวิธีนี้

12 OCT 2023
share :

หมอขอเล่า

น้องพิริ สุนัขพันธุ์ชิวาวา อายุ 12 ปี ตัวผู้ ยังไม่ได้ทำหมัน น้องมาตรวจสุขภาพเพื่อทำวัคซีนประจำปีที่โรงพยาบาล หลังจากหมอทำการตรวจร่างกาย น้องค่อนข้างร่าเริงดี เหงือกชมพู หุ่นสมส่วน แต่พบเสียงลิ้นหัวใจรั่วผิดปกติในระดับ 4/6 เสียงปอดทั้ง 2 ข้างยังปกติดี

หมอแนะนำเจ้าของให้ทำการตรวจวินิจฉัยเรื่องโรคหัวใจเพิ่มเติม เพื่อทำการประเมินระยะของโรค หลังทำการวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพรังสีและอัลตร้าซาวน์หัวใจ (echocardiography) แล้ว พบว่าน้องพิริ เป็นโรคหัวใจในระยะหัวใจโตแต่ยังไม่มีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วม (stage B2)

แล้วเราจะดูแลเค้ายังไงบ้างคะหมอ

สำหรับน้องหมาที่เป็นโรคหัวใจในระยะนี้ หมอแนะนำให้เริ่มทานยาที่ช่วยเพิ่มคุณภาพการทำงานของหัวใจนะคะ เพื่อช่วยยืดชะลอการเข้าสู่ระยะถัดไปของโรคหัวใจ

ส่วนเรื่องการดูแลน้อง เจ้าของอาจเริ่มปรับอาหารเป็นสูตรที่มีโซเดียมน้อยลงกว่าสูตรปกติ มีปริมาณโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมต่อช่วงอายุของน้อง

เจ้าของยังพาน้องเดินออกกำลังกายแบบเบาๆ ได้ แต่คอยสังเกตว่าน้องเหนื่อยเร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อนไหม นั่งหยุดพักบ่อยขึ้น หรือมีอาการอ่อนแรงขณะออกกำลังกายไหม

นอกจากนั้นเวลาตอนน้องพิรินอนหลับสบาย ฝากเจ้าของช่วยนับอัตราการหายใจของน้องในหนึ่งนาที และจดบันทึกไว้ให้หมอด้วยนะคะ ถ้าน้องเริ่มมีอัตราการหายใจที่เร็วขึ้นกว่าเมื่อก่อน หรือหายใจเกิน 40 ครั้งต่อนาที ให้เจ้าของพาน้องกลับมาหาหมอนะคะ

หมอขอนัดติดตามอาการ ทุก 2-3 เดือนนะคะ เพื่อเฝ้าระวังและประเมินการพัฒนาของโรค แค่นี้น้องพิริก็จะมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้แล้วนะคะ

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

บทความนี้เขียนโดย สพ.ญ. นภาเพ็ญ วชิรธาดา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

18 APR 2024
โรคหัวใจในสุนัขและภาวะแทรกซ้อน
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เมื่อหัวใจทำงานเสื่อมลงหรือมีความผิดปกติก็สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะสำคัญอื่นๆ ได้ด้วย สุนัขที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจนั้น จะแบ่งกลุ่มหลักๆ ได้สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่แสดงอาการและกลุ่มที่แสดงอาการ ในกลุ่มที่อยู่ในระยะแสดงอาการแล้ว
3 SEP 2024
ยารักษาโรคหัวใจสุนัข ควรเก็บอย่างไรให้ถูกวิธีและจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นยาที่มีคุณภาพ? วันนี้หมอจะอัปเดตให้รู้
ยาโรคหัวใจ เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ในการบรรเทาและรักษาอาการของโรคหัวใจ ถึงแม้พวกเราจะป้อนยาให้น้องสุนัข ได้ตรงเวลาตามคำสั่งของสัตวแพทย์ แต่เดี๋ยวก่อนนะคะ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ยานั้นมีคุณภาพที่ดีพอๆ เหมือนออกมาจากแหล่งผลิต ไม่ว่าจะเป็นยาหรืออาหารก็ต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกวิธี เพราะการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ ถ้าเป็นอาหารก็จะบูดเน่า สารอาหารก็หายไป แล้วถ้าเป็นยาล่ะ
21 JUL 2021
วิธีการวินิจฉัยโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง
โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง เป็นโรคที่ใช้วิธีการวินิจฉัยหลายวิธีร่วมกัน เริ่มจากการวินิจฉัยโรคหัวใจ เบื้องต้น โดยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินว่าสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจหรือไม่
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่