5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ

12 OCT 2023
share :

เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยแล้ว โดยเฉพาะโรคหัวใจที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัข ก่อนที่สัตว์เลี้ยงของเราจะจากไป เราก็อยากมีเวลา ให้อยู่ด้วยกันได้นาน ๆ แต่การกระทำบางอย่างของเจ้าของ อาจทำให้สุนัขของเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอย่างที่คิด มาดู 5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ กัน

1. ละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่สังเกต

การที่เจ้าของละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับสุนัข ทั้งอาการที่แสดงออก และพฤติกรรมต่าง ๆ อาจทำให้เจ้าของไม่ทันได้รู้ว่าสุนัขของตนกำลังป่วย จนอาจทำให้อาการป่วยนั้นรุนแรงขึ้นและไม่สามารถรักษาได้ทันเวลา โดยเฉพาะโรคหัวใจในสุนัขที่เป็นภัยเงียบ ซึ่งมักไม่แสดงอาการมาก นอกจากสุนัขจะป่วยโรคหัวใจมาระยะหนึ่งแล้ว จึงจะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็นชัดขึ้น เช่น สุนัขซึม สุนัขเบื่ออาหาร สุนัขเหนื่อยง่าย สุนัขไอแห้ง สุนัขไอเรื้อรัง และสุนัขท้องมาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่สุนัขเริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัข ก็ยังมีอาการที่พอให้เจ้าของจับสังเกตได้อยู่บ้าง เช่น สุนัขหายใจเร็ว สุนัขหายใจหอบถี่ ซึ่งเจ้าของสามารถสังเกตได้โดยการนับอัตราการหายใจขณะหลับ หากอยากรู้ว่าการนับอัตราการหายใจขณะหลับของสุนัขนั้นทำอย่างไร? อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น

2. พาสุนัขออกกำลังกายหนัก

สุนัขป่วยโรคหัวใจ คือ สุนัขที่มีหัวใจที่ไม่แข็งแรง หรือหัวใจมีความผิดปกติในแง่ใดแง่หนึ่ง เช่น หัวใจทำงานหนักกว่าปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่งผลให้สุนัขเหนื่อยง่ายกว่าปกติ ดังนั้นหากเจ้าของยังพาสุนัขเล่นหรือออกกำลังกายหนัก ๆ เหมือนตอนที่สุนัขยังไม่ได้ป่วย เพราะคิดว่าจะทำให้เขามีความสุข กลับอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของสุนัขได้ เจ้าของควรปรับกิจกรรมออกกำลังกายของสุนัขให้เหมาะสมกับสุขภาพของสุนัขด้วย

3. ให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างไม่เคร่งครัดตามที่สัตวแพทย์สั่ง

การให้ยาโรคหัวใจสุนัขเป็นสิ่งสำคัญมากในกระบวนการการรักษาหรือประคองอาการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจสามารถมีคุณภาพชีวิตดีและมีชีวิตอยู่กับเจ้าของได้นานขึ้น โดยยาโรคหัวใจสุนัขที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจะถูกจ่ายโดยสัตวแพทย์เท่านั้น ซึ่งยาโรคหัวใจสุนัขที่สัตวแพทย์จ่ายให้นี้ จะถูกจ่ายให้แตกต่างกันไปเป็นรายตัว ขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัย อาการของโรคหัวใจสุนัข ระยะเวลาที่สุนัขป่วยโรคหัวใจ ความเข้ากันระหว่างยาโรคหัวใจสุนัขและสุนัขป่วยโรคหัวใจ ดังนั้นการให้ยาโรคหัวใจสุนัขตามปริมาณและตรงเวลาตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเรานานขึ้นได้

4. ไม่พาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปหาสัตวแพทย์ตามนัด และไม่พาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ

สืบเนื่องจากการให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างเคร่งครัดที่เป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการการรักษาโรคหัวใจในสุนัข การพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ตามนัด ก็นับเป็นหนึ่งในกระบวนการการรักษา อีกนัยหนึ่งคือเป็นการอัปเดตอาการให้สัตวแพทย์ทราบว่าอาการป่วยโรคหัวใจสุนัขตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง ควรปรับเปลี่ยนปริมาณยาโรคหัวใจสุนัขที่ให้หรือไม่ ดังนั้นหากเจ้าของไม่พาสุนัขป่วยโรคหัวใจไปอัปเดตอาการกับสัตวแพทย์ตามนัด และให้ยาโรคหัวใจสุนัขขนาดเดิมต่อไป ยานั้นอาจไม่ตรงกับอาการของโรคหัวใจในสุนัข และไม่สามารถช่วยรักษาให้สุนัขมีชีวิตยืนยาวได้อย่างที่ควรจะเป็น

5. ไม่ให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างต่อเนื่องหรือหยุดยาเอง

แม้ว่าสุนัขป่วยโรคหัวใจจะมีอาการที่คงที่หรือดีขึ้นแล้ว การไม่ให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างต่อเนื่องหรือหยุดยาโรคหัวใจสุนัขเอง ก็ยังเป็นสิ่งที่เจ้าของห้ามทำเด็ดขาด เพราะโรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถประคองอาการให้คงที่และให้สุนัขป่วยโรคหัวใจมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ด้วยการรักษาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นแม้เจ้าของจะเห็นว่าสุนัขป่วยโรคหัวใจมีอาการดีขึ้นแล้ว ก็ไม่ควรหยุดยาโรคหัวใจสุนัขเอง เพราะอาจทำให้อาการของสุนัขทรุดลงได้ และอาจจากเราไปเร็วกว่าที่คิด

การดูแลจากเจ้าของเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้สุนัขป่วยโรคหัวใจมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีอายุยืนยาวขึ้นได้ หากเจ้าของอยากให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราได้นาน ๆ จึงไม่ควรทำพฤติกรรม 5 อย่างดังที่กล่าวในข้างต้น

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

9 JAN 2023
วิธีรับมือกับความสูญเสีย ทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน
ในชีวิตคนเรา ถึงแม้ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีใครที่จะสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้ ซึ่งในสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มีอายุขัยที่สั้นกว่าคน หรืออาจจากไปเพราะโรคต่างๆ จึงควรเตรียมความพร้อมรับมือกับความสูญเสียไว้ก่อน เผื่อวันที่เราต้องจากลากันมาถึง
8 FEB 2024
รู้หรือไม่! วินัยจากเจ้าของ ส่งผลต่ออาการสุนัขป่วยโรคหัวใจมากกว่าที่คิด
เมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ สิ่งที่ควรทำในการดูแลอาการของสุนัขป่วยโรคหัวใจ นอกจากการไปหาสัตวแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด วินัยของเจ้าของก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เจ้าของควรมีความเข้าใจและดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการดูแลน้องหมาเป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน แบ่งกว้างๆ เป็น 4 ด้านได้แก่
9 DEC 2021
รู้หรือไม่? น้องแมวก็ป่วยเป็นโรคหัวใจได้นะ
โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง หลายคนอาจเคยได้ยินว่ามักเกิดขึ้นในน้องหมา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในน้องแมวได้เช่นกัน โดยโรคหัวใจที่พบในแมวจะมีทั้งแบบโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด และโรคหัวใจหลังกำเนิด ซึ่งโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุดในแมว
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่