เมื่อสุนัขเข้าสู่วัยชรา เสี่ยงสารพัดโรค รวมทั้งโรคหัวใจ

31 OCT 2024
share :

เช่นเดียวกับมนุษย์ สุนัขก็มีวัยชราเช่นกัน และเมื่อเข้าสู่วัยชรา สุนัขก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบอวัยวะที่เสื่อมตามกาลเวลา หนึ่งในโรคที่พบบ่อยและน่ากังวลคือ โรคหัวใจ

เหตุผลที่สุนัขสูงอายุเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพราะมีการเสื่อมของโครงสร้างหัวใจ และที่พบได้มากคือภาวะลิ้นหัวใจเสื่อม โดยพบได้ในสุนัขอายุ 10 ปีขึ้นไป ในสุนัขบางสายพันธุ์มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก ทำให้ลิ้นหัวใจอาจหนาตัว ทำให้เลือดคั่งค้างในหัวใจ นำไปสู่ภาวะน้ำท่วมปอดและภาวะหัวใจล้มเหลว อีกโรคหนึ่งคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจชนิดห้องหัวใจขยายใหญ่ พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ใหญ่ รวมไปถึงสุนัขพันธุ์กลางบางสายพันธุ์ อาจพบการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไปจนถึงภาวะหัวใจล้มเหลวได้

สัญญาณเตือนโรคหัวใจ ในสุนัขสูงอายุ

  • หายใจลำบาก: หายใจเร็ว หอบเหนื่อยง่าย หรือชูคอหายใจ
  • ไอ: ไอแห้งตอนกลางคืน ไอเรื้อรัง
  • ซึม: ไม่ค่อยอยากเล่นหรือทำกิจกรรมเหมือนเดิม
  • เบื่ออาหาร มีความอยากอาหารลดลง
  • ท้องมานหรือท้องกาง: เนื่องจากมีการคั่งของน้ำในช่องท้อง
  • เป็นลมหมดสติ

การดูแลสุนัขสูงอายุให้มีสุขภาพหัวใจแข็งแรง

  • >พาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ: แนะนำให้พาสุนัขไปตรวจทุก 6 เดือน โดยสัตวแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจฟังเสียงหัวใจ และอาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ช่องอก อัลตร้าซาวด์หัวใจ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ
  • >ควบคุมน้ำหนัก: น้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะเป็นภาระต่อหัวใจ
  • >ให้อาหารที่มีคุณภาพ: เลือกอาหารที่เหมาะสมกับอายุและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปของสุนัข
  • >ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: ควรเป็นการออกกำลังกายที่เบาๆ และเหมาะสมกับอายุ
  • >ลดความเครียด: สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายให้กับสุนัข

การดูแลสุนัขสูงอายุที่เป็นโรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นโรคที่ไม่หายขาด และหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้สุนัขมีภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพหัวใจของสุนัขตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ควบคู่กับไปการดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมตามวัยของสุนัข

แต่ถึงแม้โรคหัวใจจะเป็นโรคที่ไม่หายขาด เมื่อสุนัขเป็นโรคหัวใจก็ยังสามารถดูแลเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ซึ่งการรักษาโรคหัวใจในสุนัขจะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค สัตวแพทย์อาจให้ยาเพื่อควบคุมอาการ เช่น ยาเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาขับน้ำ ยาขยายหลอดเลือด จำเป็นต้องอาศัยความใส่ใจจากเจ้าของในการให้ยาอย่างถูกต้อง ตรงเวลาสม่ำเสมอ และคอยสังเกตอาการผิดปกติ บันทึกอัตราการหายใจของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงพาสุนัขไปโรงพยาบาลตามที่แพทย์นัดเป็นประจำ จะช่วยให้เราสามารถดูแลสุนัขได้อย่างเหมาะสมและช่วยยืดอายุให้กับน้องหมาที่เรารักได้

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch และสามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App เพื่อช่วยในการนับและบันทึกอัตราการหายใจได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ? มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

9 JAN 2023
วิธีรับมือกับความสูญเสีย ทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน
ในชีวิตคนเรา ถึงแม้ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็ไม่มีใครที่จะสามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียได้ ซึ่งในสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มีอายุขัยที่สั้นกว่าคน หรืออาจจากไปเพราะโรคต่างๆ จึงควรเตรียมความพร้อมรับมือกับความสูญเสียไว้ก่อน เผื่อวันที่เราต้องจากลากันมาถึง
11 MAR 2024
เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ-เริ่มต้นดูแลอย่างไรดี
โรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่ใช้เวลาในการเกิด และในน้องหมาหลายๆ ตัวนั้นอาจไม่ได้แสดงอาการชัดเจน เช่น ไม่ได้มีอาการไอ แต่กลับตรวจพบว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ จึงทำให้เจ้าของรู้สึกถึงความไม่ทันตั้งตัวและทำตัวไม่ถูกได้ เพราะที่ผ่านมาสุนัขก็ดูปกติ แข็งแรงดี แล้วจะเริ่มต้นดูแลอย่างไรให้เหมาะสม ลองมาดูขั้นตอนการเตรียมพร้อมกัน
17 MAY 2021
10 สัญญาณเตือน สุนัขของคุณมีอาการเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจในสุนัขหรือไม่
โรคหัวใจถือเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในสุนัขอายุมาก เมื่อสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่รู้หรือไม่!! ยิ่งตรวจพบโรคหัวใจเร็ว เริ่มรักษาเร็ว ก็จะยิ่งช่วยยืดอายุของสุนัข และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่