รู้หรือไม่? น้องแมวก็ป่วยเป็นโรคหัวใจได้นะ

9 DEC 2021
share :

โรคหัวใจในสัตว์เลี้ยง หลายคนอาจเคยได้ยินว่ามักเกิดขึ้นในน้องหมา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคหัวใจก็สามารถเกิดขึ้นในน้องแมวได้เช่นกัน โดยโรคหัวใจที่พบในแมวจะมีทั้งแบบโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด และโรคหัวใจหลังกำเนิด ซึ่งโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุดในแมว คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophic cardiomyopathy หรือ HCM) แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวของเราป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่? เจ้าของอาจเริ่มด้วยวิธีดังต่อไปนี้ตามลำดับ

1. หมั่นสังเกตอาการเบื้องต้น ของน้องแมวด้วยตนเอง

โดยปกติแล้ว น้องแมวที่ป่วยเป็นโรคหัวใจมักจะไม่แสดงอาการ จึงทำให้สามารถสังเกตอาการได้ยาก น้องแมวจะเริ่มแสดงอาการก็ต่อเมื่อเริ่มป่วยเป็นโรคหัวใจขั้นรุนแรงแล้ว อาการที่สังเกตได้ คือ ซึม หายใจเร็ว หายใจลำบาก หรือบางตัวอาจมีอาการเป็นลม อ่อนแรง หากมีปัญหาที่หัวใจด้านขวาอาจพบปัญหาท้องมาน หรือปลายขาบวมน้ำร่วมด้วย ถ้าน้องแมวมีอาการผิดปกติ ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว ดังนั้นถึงแม้ในเบื้องต้นเจ้าของจะสังเกตไม่พบอาการผิดปกติในน้องแมว แต่ก็ยังไม่ควรวางใจ

2. พาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำ และสม่ำเสมอ

หากสังเกตอาการด้วยตนเองแล้วยังไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน แต่สงสัยว่าอาจเป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจ เจ้าของควรพาน้องแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด มีการฟังเสียงของหัวใจ การถ่ายภาพ X-ray ช่องอก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และการตรวจอัลตราซาวน์หัวใจ (Echocardiogram) เป็นต้น และถึงแม้ว่าผลตรวจจะออกมาว่าน้องยังไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจ แต่เจ้าของก็ควรหมั่นพาน้องแมวมาตรวจสุขภาพกับคุณหมอเป็นประจำทุกปี

3. ทานยารักษาโรคหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อพบว่าน้องมีอาการโรคหัวใจแล้ว เจ้าของควรพาน้องไปตรวจอาการตามนัดหมายของคุณหมออย่างสม่ำเสมอ และให้น้องทานยาโรคหัวใจเพื่อรักษาอาการภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง

เคล็ดลับการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจในแมว

1. หมั่นสังเกตอาการ รวมถึงพฤติกรรมของน้องแมว และพาน้องแมวไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำทุกปี เนื่องจากโรคหัวใจในแมวมักไม่ค่อยแสดงอาการในระยะเริ่มต้น ด้วยเหตุนี้ การพาน้องแมวไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์เป็นประจำจะช่วยให้สามารถตรวจพบเจอความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการตอบสนองในการรักษา และคุณภาพชีวิตของน้องแมว

2. ป้องกันพยาธิหนอนหัวใจอย่างสม่ำเสมอ

3. เสริมทอรีนในอาหารให้น้องแมว เนื่องจากทอรีนเป็นกรดอะมิโนที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

เอกสารอ้างอิง

Animal Hospital Of Statesville. Cat Cardiology - Diagnosing And Treating Heart Issues In Cats.
(ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.ahofstatesville.com/services/cats/heart-disease-in-cats (เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564)

Atlantic Coast New York Veterinary Specialists. Heart Disease in Cats: Types, Symptoms and Treatments.
(ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.atlanticcoastvet.com/site/blog-long-island-vet/2021/06/15/heart-disease-cats-types-symptoms-treatments (เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564)

Bruce G. Pets Get Heart Disease Too.
(ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.vet.cornell.edu/departments-centers-and-institutes/cornell-feline-health-center/health-information/cat-health-news/pets-get-heart-disease-too (เข้าถึงเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2564)

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

17 MAY 2021
มารู้จักโรคหัวใจในสุนัขกันเถอะ
วันนี้จะมาเล่าขั้นตอนการปฏิบัติตัว เมื่อพบว่าสุนัขที่เราเลี้ยงมีอาการแสดงที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
27 JUL 2022
“ยาโรคหัวใจสุนัข” ห้ามหยุด ห้ามพัก ห้ามขาดยาเองเด็ดขาด! และเหตุผลที่ต้องให้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง
โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข มักพบในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน และสุนัขบางสายพันธุ์ที่มีโรคหัวใจสุนัขเป็นโรคประจำสายพันธุ์ โรคหัวใจสุนัขนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจสุนัขยังถือเป็นหนึ่งในโรคที่มีวิธีรักษาเพื่อให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้
8 FEB 2024
รู้หรือไม่! วินัยจากเจ้าของ ส่งผลต่ออาการสุนัขป่วยโรคหัวใจมากกว่าที่คิด
เมื่อน้องหมาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ สิ่งที่ควรทำในการดูแลอาการของสุนัขป่วยโรคหัวใจ นอกจากการไปหาสัตวแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด วินัยของเจ้าของก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เจ้าของควรมีความเข้าใจและดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้น้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการดูแลน้องหมาเป็นโรคหัวใจขณะอยู่ที่บ้าน แบ่งกว้างๆ เป็น 4 ด้านได้แก่
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่