“ยาโรคหัวใจสุนัข” ห้ามหยุด ห้ามพัก ห้ามขาดยาเองเด็ดขาด! และเหตุผลที่ต้องให้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง

27 JUL 2022
share :

โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข มักพบในสุนัขสูงวัย สุนัขน้ำหนักเกิน และสุนัขบางสายพันธุ์ที่มีโรคหัวใจสุนัขเป็นโรคประจำสายพันธุ์ โรคหัวใจสุนัขนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจสุนัขยังถือเป็นหนึ่งในโรคที่มีวิธีรักษาเพื่อให้สุนัขมีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ โดยการให้ยาโรคหัวใจสุนัขตามที่สัตวแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดและอย่างต่อเนื่อง แต่หากสุนัขของเรามีอาการดีขึ้นแล้ว เราจะสามารถหยุดยาเองได้หรือไม่?

เมื่อสุนัขของคุณได้รับการตรวจวินิจฉัยจากสัตวแพทย์แล้วว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการรักษาให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสัตวแพทย์จะทำการประเมินอาการ และสั่งยาให้เหมาะสมกับโรคหัวใจในสุนัขแต่ละตัว และต้องอาศัยการดูแลจากเจ้าของอย่างเคร่งครัด เนื่องจากยาโรคหัวใจสุนัขนั้นเป็นยาที่จำเป็นต้องได้รับยาที่ถูกต้อง มีคุณภาพ และให้ยาอย่างตรงเวลาและต่อเนื่อง เพื่อการประคองอาการและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

หากสุนัขของคุณได้รับยาโรคหัวใจสุนัขจนดูเหมือนว่าอาการป่วยโรคหัวใจในสุนัข เช่น สุนัขซึม สุนัขอ่อนเพลีย สุนัขเบื่ออาหาร สุนัขน้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ สุนัขเหนื่อยง่าย สุนัขไอแห้ง สุนัขไอเรื้อรัง สุนัขท้องมาน นั้นจะมีอาการลดลงหรือดีขึ้นแล้ว เจ้าของก็ไม่ควรหยุดหรือพักการให้ยาโรคหัวใจสุนัขด้วยตนเองในทันที เนื่องจากการหยุดให้ยาโรคหัวใจสุนัขด้วยตนเอง อาจทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของสุนัขตามมาได้ นอกจากนี้ยังไม่ควรไปหาซื้อยาด้วยตนเอง เพราะอาจจะมีผลต่อคุณภาพของยาที่ส่งผลต่อการรักษาได้อีกด้วย

ผลเสียของการหยุดยาโรคหัวใจสุนัขด้วยตนเองที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน คือ อาการโรคหัวใจในสุนัขทรุดลง โดยอาจทำให้สุนัขมีอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่รุนแรงมากกว่าเดิมได้ ในช่วงแรกที่เจ้าของหยุดให้ยาโรคหัวใจสุนัขเมื่อเห็นว่าสุนัขมีอาการดีขึ้น อาจยังไม่เห็นความผิดปกติว่าสุนัขจะมีอาการทรุดลง แต่หากสุนัขที่ป่วยเป็นโรคหัวใจขาดยาหรือขาดการรักษาไปนาน ๆ นั้น จะมีผลเสียในอนาคตอย่างแน่นอน นอกจากอาการป่วยจะทรุดลงแล้ว ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้อีกด้วย จึงไม่แนะนำให้เจ้าของหยุดยา ลดปริมาณยา หรือเปลี่ยนยาโรคหัวใจสุนัขเอง ควรปรึกษาสัตวแพทย์ประจำก่อนเป็นอันดับแรกทุกครั้งเมื่อมีข้อสงสัยในการให้ยาหรือการดูแลสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ

หากคุณให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลดีอะไรต่อสุนัขบ้าง? เมื่อคุณให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างต่อเนื่อง ยาโรคหัวใจสุนัขจะช่วยลดอาการทางคลินิกของสุนัขจากภาวะหัวใจล้มเหลวที่สุนัขกำลังเป็นอยู่ ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนและช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว ส่งผลให้สุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติและมีความสุข

การที่สุนัขได้รับยาโรคหัวใจสุนัขแล้วมีอาการที่ดีขึ้น บ่งบอกได้ว่าสุนัขมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถอยู่กับเจ้าของได้นานขึ้นกว่าเดิมไปอีกหลายปี ดังนั้นแม้สุนัขจะมีอาการดีขึ้นแล้ว แต่เจ้าของก็ไม่ควรหยุดหรือพักการให้ยาโรคหัวใจสุนัขด้วยตนเองโดยเด็ดขาด และยังควรให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างเคร่งครัดตามที่สัตวแพทย์สั่งเช่นเดิม เพราะหากเจ้าของทำการหยุดยาด้วยตัวเอง อาจทำให้โรคหัวใจในสุนัขกลับมาพรากชีวิตของสุนัขที่เรารักไปเร็วกว่าที่คิด

นอกจากการให้ยาโรคหัวใจสุนัขอย่างเคร่งครัดตามที่สัตวแพทย์สั่งแล้ว การดูแลเรื่องอาหาร และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น การสังเกตอัตราการหายใจของสุนัขเป็นประจำ ก็มีความสำคัญเช่นกัน โดยเจ้าของควรเลือกให้อาหารสุนัขที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ หรืออาหารสำหรับสุนัขป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ ควบคู่ไปกับการหมั่นพาสุนัขออกกำลังกายเบา ๆ ในที่ร่มหรือไม่มีแดดจัดร่วมด้วย ส่วนการสังเกตอัตราการหายใจ มีแอปใหม่ Heart2Heart app. ที่จะช่วยตรวจเช็คได้เพิ่มเติม เพียงเท่านี้สุนัขของเราก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่รักกับเราได้ไปอีกยาวนานมากขึ้น

สามารถดาวน์โหลด Heart2Heart App ได้แล้วทั้งทาง Google Play และ Apple Store และดูขั้นตอนการใช้งานได้ที่ https://yourpetheart.com/ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ/สุนัขของเราเป็นโรคหัวใจไหมนะ-มาดูวิธีเช็กด้วยตัวเองง่าย-ๆ-พร้อมตัวช่วยที่จะทำให้เจ้าของสังเกตได้สะดวกขึ้น “โรคหัวใจสุนัข รู้ทันได้ แค่หมั่นสังเกตอาการให้ชัวร์”

ตรวจความเสี่ยงของภาวะโรคหัวใจที่ https://bit.ly/YPH_Quiz
ค้นหาโรงพยาบาลสัตว์หรือศูนย์โรคหัวใจใกล้บ้านที่ https://bit.ly/YPH_Clinicsearch

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

12 OCT 2023
5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อสัตว์เลี้ยงของเราป่วยแล้ว โดยเฉพาะโรคหัวใจที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในสุนัข ก่อนที่สัตว์เลี้ยงของเราจะจากไป เราก็อยากมีเวลา ให้อยู่ด้วยกันได้นาน ๆ แต่การกระทำบางอย่างของเจ้าของ อาจทำให้สุนัขของเราไม่ได้มีชีวิตยืนยาวอย่างที่คิด มาดู 5 สิ่งที่ “ห้ามทำเด็ดขาด” หากต้องการให้สุนัขป่วยโรคหัวใจอยู่กับเราไปนาน ๆ กัน
11 MAR 2024
เมื่อรู้ว่าสุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจ-เริ่มต้นดูแลอย่างไรดี
โรคหัวใจในสุนัขเป็นโรคที่ใช้เวลาในการเกิด และในน้องหมาหลายๆ ตัวนั้นอาจไม่ได้แสดงอาการชัดเจน เช่น ไม่ได้มีอาการไอ แต่กลับตรวจพบว่าน้องหมาเป็นโรคหัวใจ จึงทำให้เจ้าของรู้สึกถึงความไม่ทันตั้งตัวและทำตัวไม่ถูกได้ เพราะที่ผ่านมาสุนัขก็ดูปกติ แข็งแรงดี แล้วจะเริ่มต้นดูแลอย่างไรให้เหมาะสม ลองมาดูขั้นตอนการเตรียมพร้อมกัน
24 AUG 2022
เพราะรักจึงต้องดูแล เช็คให้ชัวร์อาการนี้ “ป่วยทั่วไป” หรือ “สัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจ”
โรคหัวใจสุนัข เป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการผิดปกติให้เจ้าของได้รับรู้ จนกว่าสุนัขจะป่วยเป็นโรคหัวใจสุนัขไปแล้วระยะหนึ่ง อาการผิดปกติต่าง ๆ จึงจะเริ่มแสดงให้เห็นชัดขึ้น อย่างไรก็ตามอาการเริ่มต้นของโรคหัวใจสุนัขก็มีความคล้ายกับอาการเมื่อสุนัขป่วยทั่วไป แต่จะมีบางอาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นเจ้าของจึงควรสังเกตให้ดีว่าอาการที่สุนัขของเรากำลังเป็นอยู่นี้คืออาการป่วยทั่วไปหรือสัญญาณเสี่ยงโรคหัวใจสุนัข
เว็บไซต์นี้มีการใช้คุ้กกี้เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับคุณและวิเคราะห์การเข้าใช้เว็บไซต์ เมื่อท่านกด "ยอมรับ" หรือยังคงเข้าชมเว็บไซต์ต่อถือว่าท่านยินยอมในการใช้งานคุ้กกี้ของเว็บไซต์นี้ ตรวจสอบ นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเราที่นี่